การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation)

ผู้แต่ง

  • สรภัญ ส่งเสริมพงษ์ โรงพยาบาลปากเกร็ด นนทบุรี
  • จิดาภา รอดโพธิ์ทอง โรงพยาบาลปากเกร็ด นนทบุรี
  • ปยารี พิริยะอุดมพร โรงพยาบาลปากเกร็ด นนทบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง, ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลรูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงในยุคแห่ง การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง 145 ราย ที่มา รับบริการที่โรงพยาบาลปากเกร็ด ตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบ โดยทำการศึกษาสถานการณ์ สังเกตสภาพแวดล้อมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง สัมภาษณ์เชิงลึกทีมสหวิชาชีพที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูง แล้วร่างรูปแบบโดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นฐานในการออกแบบ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนารูปแบบ จัดสนทนากลุ่มเพื่อพิจารณา และปรับปรุงยืนยันรูปแบบก่อนนำไปทดลองใช้จริง ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลรูปแบบ โดยทดสอบความรู้หญิง ตั้งครรภ์เสี่ยงสูงที่เข้าร่วมโครงการในเรื่องการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง การปฏิบัติตัวก่อนและหลังการใช้รูปแบบและภาวะ แทรกซ้อน ที่เกิดขึ้นขณะเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งประเมินความพึงพอใจหลังการใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบความรู้การตั้งครรภ์เสี่ยงสูงและการปฏิบัติตัวเพื่อป้ องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังใช้รูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์เสียงสูง ่ ในยุค digital transformation ที่พัฒนาขึ้น หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงมีคะแนนความรู้เรื่องการตั้งครรภ์เสี่ยงสูง การดูแล ตนเองเพื่อป้ องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญที่ค่าทางสถิติที่ระดับ 0.05 หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจในระดับดีมาก

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Trends in maternal mortality 2000 to 2017: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and the United Nations Population Division. Geneva: World Health Organization; 2019.

กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี งบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 7 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https:// ops.moph.go.th/public/index.php/pol icy_plan

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นโยบายมุ่งเน้นกระทรวงสาธารณสุขประจำปี 2566 ของ นพ. โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 ส.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://spd.moph.go.th/2023-focus-policy/

ปณิตา ปรีชากรกนกกุล, ณัชชา วรรณนิยม, พนิดา รัตนเรือง.ผลของการตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์อายุมากที่มาคลอดใน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2561;21:1-9.

Hasso Plattner Institute of Design at Stanford University. Get started with design thinking [Internet]. [cited 2022 Aug 8]. Available from: https://dschool.stanford.edu/ resources/getting-started-with-design-thinking

Bloom BS, Engelhart MD, Furst EJ, Hill WH, Krathwohl DR. Taxonomy of educational objectives, handbook I: the cognitive domain. New York: David McKay; 1956.

นุชจรี กิจวรรณ. กระบวนการคิดเชิงออกแบบ: มุมมองใหม่ ของระบบสุขภาพไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2561; 33(1):5-14.

รตินันท์ เตชะสืบ. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาอายุมากที่ โรงพยาบาลสุโขทัย. พุทธชินราชเวชสาร 2553;27(1):323- 4.

จารินี คูณทวีพันธุ์, ระวีวัฒน์ นุมานิต, อนุรักษ์ กระรัมย์. ผล การพัฒนาแบบคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เสี่ยงสูง ในเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2562;15:49-57.

ช่อทิพย์ ผลกุศล, ศิริวรรณ แสงอินทร์. ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ และ พฤติกรรมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์อายุมาก. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2564;29(2):24-34.

Janz MK, Becker MH, Hartman PE. Contingency contracting to enhance patient compliance: a review. Patient Educ Couns 1984;5(4):165-78.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ