ผลลัพธ์หลังใช้แนวปฏิบัติพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยที่มีการหย่าเครื่องช่วยหายใจยาก ณ หอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรมประสาท

ผู้แต่ง

  • นฤมล อนุมาศ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • ชมนภัส รัตติโชติ หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลหาดใหญ่
  • ประณีต ส่งวัฒนา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • อัฐพล ชีวรุ่งโรจน์ แผนกศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลหาดใหญ่

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, การส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยที่มีการหย่าเครื่องช่วยหายใจยาก, การติดเชื้อที่ปอด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่า เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่ วยที่มีการหย่าเครื่องช่วยหายใจยาก เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาโดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนา แนวปฏิบัติของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่ วยหย่าเครื่องช่วยหายใจยากที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาทจำนวน 102 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่ วยก่อนและ หลังใช้จำนวนเท่ากันกลุ่มละ 51 ราย เก็บข้อมูลโดยการติดตามไปข้างหน้าและเปรียบเทียบผลลัพธ์กับการใช้แนว ปฏิบัติเดิม การประเมินผลลัพธ์ได้แก่ (1) ความสำเร็จการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (2) ระยะเวลาการหย่าเครื่องช่วย หายใจ (3) อัตราการเกิดการติดเชื้อทีปอด (4) อัตราการเกิดใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ (5) ระยะเวลานอนในหอผู้ป่ วยหนัก ่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ทดสอบสถิติไคสแควร์และเปรียบเทียบความแตกต่างของผลลัพธ์ กับการใช้แนวปฏิบัติเดิมด้วยสถิติทีอิสระ ผลการศึกษาพบว่า หลังนำแนวปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้ ความสำเร็จของ การหย่าเครื่องช่วยหายใจยากสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยสูงขึ้นจากเดิม จำนวน 37 ราย ร้อยละ 72.5 เพิ่มเป็น จำนวน 48 ราย ร้อยละ 94.1 จำนวนผู้ป่ วยที่เกิดการติดเชื้อที่ปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจจาก เดิม 10 ราย (ร้อยละ 19.6) ลดลงเหลือเพียง 2 ราย (ร้อยละ 3.9) ส่วนอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจใหม่เพิ่มขึ้นจาก จำนวน 7 ราย ร้อยละ 13.7 เป็นจำนวน 9 ราย ร้อยละ 17.6 ค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่ผู้ป่ วยหย่าเครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้น จาก 6.2 วัน (SD=4.3 วัน) เป็น 6.6 วัน (SD=5.55 วัน) ค่าเฉลี่ยระยะเวลานอนในหอผู้ป่ วยหนักลดลงจาก 13 วัน (SD=8.6 วัน) เป็น 11.9 วัน (S.D=8.1 วัน) พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน (p>0.05) ข้อเสนอแนะ ควรนำแนวปฏิบัติพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจไปใช้ในการดูแลผู้ป่ วยที่มีการหย่าเครื่องช่วยหายใจยาก เพื่อช่วยลดอัตราการติดเชื้อที่ปอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ และมีอัตราความสำเร็จในการหย่า เครื่องช่วยหายใจสูงขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Helmy A, Vizcaychipi M, Gupta, AK. Traumatic brain injury: intensive care management. British Journal of Anaesthesia 2007;99(1):32–42.

Tumul C, Stephen K, Yaseen A, Hari H. General intensive care for patients with traumatic brain injury: an update. Saudi Journal of Anesthesia 2014;8(2):256-62.

Jaber S, Petrof BJ, Jung B, Chanques G, Berthet JP, Rabuel C, et al. Rapidly progressive diaphragmatic weakness and injury during mechanical ventilation in humans. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine 2011;183(3):364-71.

Kalle H, Chelly H, Bahloul M, Ksibi H, Dammak H, Chaari A, et al. The effect of ventilator-associated pneumonia on the prognosis of head trauma patients. J Trauma 2005;59:705-10.

รุ่งทิพย์ ดารายนต์. ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่มีความยาก ลำบากในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2551.

ประณีต ส่งวัฒนา. คุณภาพและผลลัพธ์ในการดูแลผู้ป่วยที่ ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน. ใน: สุนิสา ฉัตรมงคลชาติ, ธันต์ชนก วนสุวรรณกุล, ประณีต ส่งวัฒนา, บรรณาธิการ. Respiratory care: การพัฒนาคุณภาพในการ ดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2550. น. 67-84.

โรงพยาบาลหาดใหญ่, หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท. สถิติข้อมูลหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาทปี พ.ศ.2558- 2559. สงขลา: โรงพยาบาลหาดใหญ่; 2560.

ขนิษฐา อรัญดร, นฤมล อนุมาศ, สุปนิตา สังข์แก้ว. ผลการ หย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาท. วารสารวิชาการเขต 12 2558;26:53-8.

National Heatlh and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines. Canberra: National Health and Medical Research Council; 1998.

ขนิษฐา อรัญดร, นฤมล อนุมาศ, ชมนภัส รัตติโชติ, ประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการ พยาบาลหย่าเครื่องช่วยหายใจยากในผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรม ประสาท วารสารวิชาการเขต 12, 2561;26:52-8.

Beduneau G, Pham T, Schortgen F, Piquillound L, Zogheib E, Jonas M, et al. Epidemiology of weaning outcome according to a new definition. The WIND Study. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine 2017;195(6):772-83.

Senguta S, Chakravarty C, Rudra A. Evidence-based practice of weaning from ventilator: a review. London: World Federation of Societies of Anesthesiologists; 2018.

The Joanna Briggs Institute. The Joanna Briggs Institute reviewers’ manual 2014. Adelaide: The Joanna Briggs Institute; 2014.

Heunks LM, Van der Hoeven JG. Clinical review: the ABC of weaning failure-a structure approach. Crttical Care 2010;14(6):245.

สรภพ ภักดีวงศ์. High-flow nasal cannular. ใน: ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สัณฐิติ โมรากุล, บรรณาธิการ. Covid and crisis in critical care. นนทบุรี: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2563. หน้า 13-9.

Maggiore SM, Idone FA, Vaschetto R, Festa R, Cataldo A, Antonicelli F. Nasal high-flow versus venturi mask oxygen therapy after extubation. Effects on oxygenation, comfort, and clinical outcome. Am J Respir Crit Care Med 2014;190(3):282-8.

Hermandez G, Vaquero C, Colinas L, Cuena R, Gonzalez P, Canabal A. Effect of postextubatetion high flow nasal cannula vs noninvasive ventilation on reintubation and postextubation respiratory failure in high-risk patients: a randomized clinical trial. JAMA 2016;316(15):1565- 70.

Cresci G, Cue JI. Nutrition support for the long-term ventilator-dependent patient. Respir Care Clin N Am 2006;12:567-91.

รังสรรค์ ภูรยานนทชัย. การให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยวิกฤต. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549;24:425-43.

Hinrichs M, Huseboe J. Research-based protocol management of constipation. Journal of Gerontological Nursing 2001;27(2):17-28.

Mostafa SM, Bhandari S, Ritchie G, Gratton N, Wenstone R. Constipation and its implications in the critically ill patient. British Journal of Anaesthesia 2003;91(6): 815-19 .

Dessap AM, Roche-Campo F, Kouatchet A, Tomicic V, Beduneau G, Sonneville R, et al. Natriuretic peptide– driven fluid management during ventilator weaning a randomized controlled trial. Am J Respir Crit Care Med 2012;186(12):1256–63.

Klompas M, Li L, Kleinman K, Szumita PM, Massaro AF. Associations between ventilator bundle components and outcomes. JAMA Internal Medicine 2016;176(9): 1278-83.

Rollnik JD, Krauss JK, Gutenbrubber C, Wallesch C, Munte T, Stangel M. Weaning of neurological early rehabilitation patients from mechanical ventilation: a retrospective observational study. European Journal of Physical and Rehabilitation Medicine 2017;53(3):441- 6.

Walterspacher S, Guckler J, Pietsch F, Walker DJ, Kabitz HJ, Dreher M. Activation of respiratory muscles during weaning from mechanical ventilation. Journal of Critical Care 2017;38:202-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้