ประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการตรวจรักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะและโรคมะเร็งเต้านมแบบบูรณาการ โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ประเมินผลโครงการ, โรคระบบทางเดินปัสสาวะ, โรคมะเร็งเต้านม, การคัดกรองบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการตรวจรักษาโรค ระบบทางเดินปัสสาวะและโรคมะเร็งเต้านมแบบบูรณาการ โรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP model) ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้าน ผลผลิต กลุ่มตัวอย่างจำนวน 950 ราย แบ่งเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 50 ราย กลุ่มผู้ป่ วยที่มีปัญหา สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะและปัญหาสุขภาพเต้านม จำนวน 900 ราย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย (1) แผน งานโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ (2) แบบประเมินความรู้และการปฏิบัติทักษะ และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 – กันยายน พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่า เฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การประเมินผลโครงการโดยใช้ CIPP Model (1) ด้านบริบท โครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.8, SD=0.7) มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและตอบสนองต่อความ ต้องการของผู้ใช้บริการ (2) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.9, SD=0.6) ความเหมาะสมใน การวางแผน กิจกรรม และความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ (3) ด้านกระบวนการของ โครงการ โดยรวมที่ระดับปานกลาง (Mean=3.0, SD=0.6) โครงการได้ดำเนินไปตามแผนการปฏิบัติของโครงการที่ กำหนดไว้ต้องปรับปรุงด้านการประชาสัมพันธ์โครงการและความสอดคล้องกิจกรรมกับเจ้าหน้าที่ร่วมโครงการ (4) ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.6, SD=0.2) พบว่า โครงการสามารถค้นพบผู้ป่ วยที่มีปัญหาระบบ ทางเดินปัสสาวะร้อยละ 77.5 และผู้มีความผิดปกติของเต้านมร้อยละ 22.5 โดยพบโรคมะเร็งเต้านมทุกระยะร้อยละ 3.2 ก้อนเนื้อและเนื้องอกร้อยละ 96.8 พบว่า เจ้าหน้าที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการตรวจรักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะและโรคมะเร็งเต้านม ในระดับมากร้อยละ 84.0 และสามารถปฏิบัติเทคนิคการตรวจคัดกรอง การ ซักประวัติ การให้คำแนะนำ รักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะและโรคมะเร็งเต้านมในระดับปฏิบัติได้ดี ร้อยละ 82.0 โดยมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.8, SD=0.4) ในมิติประสิทธิภาพ ระยะเวลาตรวจสุขภาพเวลาโดยรวมใช้เวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมง ผู้รับบริการเห็นว่าสามารถรับการตรวจโรคใกล้บ้านและได้รับการดูแล ที่ครอบคลุมมากขึ้น ผลการวิจัยนี้สะท้อนถึงแนวทางการจัดและประเมินผลโครงการ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิตและประสิทธิภาพ ภายหลังการจัดโครงการ ซึ่งสามารถพัฒนาประสิทธิภาพด้านการค้นหา ตรวจรักษา องค์ความรู้และการปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่ วยที่มีปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะและความผิดปกติของเต้านมได้
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Coughlin SS. Epidemiology of breast cancer in women. Adv Exp Med Biol 2019;1152:9-29.
Li J, Zhang BN, Fan JH, Pang Y, Zhang P, Wang SL, et al. A nation-wide multicenter 10-year (1999-2008) retrospective clinical epidemiological study of female breast cancer in China. BMC Cancer 2011;11:364.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงาน ภาวะโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
American Cancer Society. Breast cancer survival rates 2021 [Internet]. 2022 [cite 2022 Jun 26]. Available from: https://www.cancer.org/cancer/breast-cancer/ understanding-a-breast-cancerdiagnosis/breast-cancer-survival-rates.html.
Plesnicar A, Golicnik M, Fazarinc IK, Kralj B, Kovac V, Plesnicar BK. Attitudes of midwifery students towards teaching breast-self examination. Radiol Oncol 2010; 44:52-56.
Trueman P, Hood SC, Nayak US, Mrazek MF. Prevalence of lower urinary tract symptoms and self-reported diagnosed ‘benign prostatic hyperplasia’, and their effect on quality of life in a community-based survey of men in UK. BJU Int 1999;83:410–5
งานเวชสถิติโรงพยาบาลราษีไศล. สถิติผู้ป่ วยโรคมะเร็งเต้านมและโรคระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง โรงพยาบาล ราษีไศล ปี 2565. ศรีสะเกษ: โรงพยาบาลราษีไศล; 2565.
พงศธร พอกเพิ่มดี, ธงธน เพิ่มบถศรี, วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย, เกษมศานต์ ชัยศิลป์ , หทัยรัตน์ คงสืบ, นาฏอนงค์ เจริญสันติสุข, และคณะ. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2560-2579. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.
Stufflebeam DL. Educational evaluation and decision making. ltasca, lllinois: Peacock Publisher; 1971.
พนิดา ชุมจันทร์. การประเมินโครงการบริการสุขภาพช่องปาก ผู้ต้องหาเรือนจำกลางชลบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2566;19(1):5-18.
เมธา พันธ์รัมย์. การประเมินรูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็ง เต้านมโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557;23(4):593-600.
คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, นันทิยา วัฒายุ, ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ. ระบบการคัดกรองและป้องกันมะเร็งเต้านมในประเทศไทย ในทัศนะของผู้ให้บริการ. วารสารโรคมะเร็ง 2562;39(3): 77-91.
รังษีนพดล โถทอง, ศุลีพร แสงกระจ่าง, โสภิตรา สมหารวงค์, ณัฐจาพร พิชัยณรงค์, ปรารถนา สถิวิภาวี, ศุภชัย ปิติกุลตัง, และคณะ. ปัจจัยทีสัมพันธ์กับการตรวจเต้านมด้วยตนเองของ ่ สตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน. วารสารโรคมะเร็ง 2562; 39(1):16-27.
สมเกียรติ ขำนุรักษ์, จันทิมา นวะมะรัตน์, กฤษฏา เหล็กเพชร. การประเมินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(2):202-14.
ปิยะวดี งามดี, วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์, เพรช รอดอารีย์. การประเมินผลการส่งเสริมสุขภาพของชมรมผู้สูงอายุเขต เมือง:นนทบุรี.วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2564;64(5):357-64.
Fox SA, Murata PJ, Stein JA. The impact of physician compliance on screening mammography for older women. Archives of Internal Medicine 1991;151(1):50-6.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.