ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีและไม่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตที่มารับการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • จินตาหรา ติณหภัทร Division Internal Medicine, Nongkhai Hospital

คำสำคัญ:

โรคข้อเข่าเสื่อม, โรคที่เกิดจากผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟต, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

บทคัดย่อ

โรคข้อเข่าเสื่อมและโรคที่เกิดจากผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ บางการศึกษาพบ ว่าผู้ป่ วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตร่วมด้วย มักจะมีอาการรุนแรงและก่อให้เกิดความพิการได้ มากกว่ากลุ่มที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเพียงอย่างเดียว แต่การวินิจฉัยและการรักษาโรคเหล่านี้ยังทำได้ลำบากและเป็นการ รักษาตามชนิดหรืออาการและอาการแสดงของผู้ป่ วยเป็นหลัก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับลักษณะทางคลินิกของผู้ป่ วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีและไม่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตที่มารับการเปลี่ยน ข้อเข่าเทียมที่โรงพยาบาลหนองคาย โดยเก็บข้อมูลแบบย้อนหลังตั้งแต่ปีพ.ศ. 2563-2566 วิธีการศึกษาเป็นเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางคลินิกของผู้ป่ วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีและไม่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตที่มารับการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โดยข้อมูลเชิงคุณภาพหรือข้อมูลที่จัดแบ่งเป็นกลุ่มเช่น เพศ ที่อยู่ โรคประจำตัว ใช้สถิติ Chi-square test หรือ Fisher’s exact test และข้อมูลเชิงปริมาณเช่น อายุ ดัชนีมวลกาย ใช้สถิติ Unpaired t-test หรือ Mann-Whitney U test พบผู้ป่ วยที่มีคุณสมบัติเข้าในการวิจัยทั้งหมด 164 ราย เป็นผู้ป่ วยที่มี ผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตร่วมด้วย 54 ราย (ร้อยละ 32.9) เมื่อเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกของผู้ป่ วย โรคข้อเข่าเสื่อมที่มีและไม่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตที่มารับการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม พบว่า ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ที่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตมักมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคไตเรื้อรัง มากกว่า รวมทั้งมีอายุเฉลี่ยมากกว่า และระยะเวลาในการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเฉลี่ยนานกว่าผู้ป่ วยโรคข้อเข่าเสื่อม ไม่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้กลุ่มที่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟต ร่วมด้วยมักมีข้ออักเสบมากกว่า ต้องใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์มากกว่า (ร้อยละ 94.4 และ ร้อยละ 91.8 ตามลำดับ, p=0.544, OR=1.515) กล่าวโดยสรุป ผู้ป่ วยโรคข้อเข่าเสื่อมควรได้รับการประเมินเรื่องผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตร่วมด้วยเสมอ เนื่องจากผู้ป่ วยกลุ่มทีมีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตร่วมด้วยมักมีอาการข้ออักเสบมากกว่า ่ โรคเรื้อรังมากกว่า ซึ่งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนการประเมินและการรักษาแตกต่างจากกลุ่มที่ไม่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตร่วมด้วย

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Viriyavejkul P, Wilairatana V, Tanavalee A, Jaovisidha K. Comparison of characteristics of patients with and without calcium pyrophosphate dihydrate crystal deposition disease who underwent total knee replacement surgery for osteoarthritis. Osteoarthritis Cartilage 2007; 15(2):232-5.

Sharma L. Osteoarthritis of the knee. N Engl J Med 2021;384(1):51-59.

Giorgino R, Albano D, Fusco S, Peretti GM, Mangiavini L, Messina C. Knee osteoarthritis: epidemiology, pathogenesis, and mesenchymal stem cells: what else is new? An update. Int J Mol Sci 2023; 24(7):6405.

Jang S, Lee K, Ju JH. Recent updates of diagnosis, pathophysiology, and treatment on osteoarthritis of the knee. Int J Mol Sci 2021;22(5):2619.

Williams JC, Rosenthal AK. Pathogenesis of calcium pyrophosphate deposition disease. Best Pract Res Clin Rheumatol 2021;35(4):101718.

Abhishek A, Doherty M. Update on calcium pyrophosphate deposition. Clin Exp Rheumatol 2016;34(4 Suppl 98):32-8.

Rosenthal AK. Calcium pyrophosphate deposition. BMJ Best Practice [Internet]. 2019 [Cited 2023 Dec 10]. Available from: https://bestpractice.bmj.com/topics/ en-gb/370?q=Calcium%20pyrophosphate%20 deposition&c=suggested

McCarthy GM, Dunne A. Calcium crystal deposition diseases - beyond gout. Nat Rev Rheumatol 2018;14(10):592-602.

Parperis K, Papachristodoulou E, Kakoullis L, Rosenthal AK. Management of calcium pyrophosphate crystaldeposition disease: a systematic review. Semin Arthritis Rheum 2021;51(1):84-94.

Stack J, McCarthy G. Calcium pyrophosphate deposition (CPPD) disease - treatment options. Semin Arthritis Rheum 2020;50(4):719-27.

Cowley S, McCarthy G. Diagnosis and treatment of calcium pyrophosphate deposition (CPPD) disease: a review. Open Access Rheumatol 2023;15:33-41.

Cai K, Fuller A, Hensey O, Grossberg D, Christensen R, Shea B, et al. Outcome domains reported in calcium pyrophosphate deposition studies: a scoping review by the OMERACT CPPD working group. Semin Arthritis Rheum 2020;50(4):719-27.

Jacques T, Michelin P, Badr S, Nasuto M, Lefebvre G, Larkman N, et al. Conventional radiology in crystal arthritis: gout, calcium pyrophosphate deposition, and basic calcium phosphate crystals. Radiol Clin North Am 2017;55(5):967-84.

Ledingham J, Regan M, Jones A, Doherty M. Radiographic patterns, and associations of osteoarthritis of the knee in patients referred to hospital. Ann Rheum Dis 1993;52:520e6.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

วิธีการอ้างอิง