สถานการณ์ สภาพปัญหา และความต้องการด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ไพรินทร์ พัสดุ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
  • สมัคร ใจแสน วิทยาลัยวิชาการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • สุพจน์ ดีไทย สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

สถานการณ์, การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน, นักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา และความต้องการด้านการกู้ชีพ ขั้นพื้นฐานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยกรอบแนวคิดการวิจัยตามกฎกระทรวง มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2565 เกี่ยวกับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษา ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก เกียวกับสถานการณ์ สภาพปัญหาและความต้องการด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาและผู้เกี ่ ยวข้อง ่ โดยพื้นที่วิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยที่มีการจัดการเรียนการสอนสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพจำนวน 4 แห่งในทุกภาคของ ประเทศไทย หลังจากนั้นวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ สภาพปัญหา และความต้องการ ด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มี 8 ประเด็น ได้แก่ (1) ประสบการณ์การเรียนรู้ด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานขณะเรียนอยู่ในระดับอุดมศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมีกิจกรรมเพื่อพัฒนา สมรรถนะด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานทั้งในและนอกหลักสูตร (2) ความมั่นใจในตนเองด้านทักษะการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ยังไม่มากพอที่จะสามารถตัดสินใจหากเกิดสถานการณ์จริง (3) ความจำเป็นของการกู้ชีพขั้นพื้นฐานกับการเรียนต่อ นักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีความจำเป็นมากเนื่องจากความคาดหวังของสังคม และสามารถนำไปช่วยเหลือ ผู้อื่นในชีวิตการทำงานได้ (4) ความต้องการการเรียนรู้ด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้เรียนมองว่ามีความต้องการมาก ในการเรียนรู้จนนำไปใช้ได้จริง (5) ความคาดหวังกับสมรรถนะด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานเนื่องจากการคาดหวังตาม ภาพลักษณ์ และบทบาททางสังคมว่าเป็นวิชาชีพ และเป็นบุคลากรทางสุขภาพ (6) ปัญหาอุปสรรคในการจัดการ เรียนการสอนที่ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้ได้จริง ทั้งเวลาเรียน และวิธีการเรียนจนเกิดทักษะ (7) ช่วงเวลาการจัด การเรียนการสอนและ (8) การเอื้ออำนวยการเรียนรู้ด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานจากมหาวิทยาลัยทั้งเวลาที่จัดให้ และ แหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษา ซึ่งควรนำผลการวิจัยที่ได้ไปพัฒนาเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย การกำหนดสมรรถนะด้านการกู้ชีพขั้นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. ข้อมูลสถิตินักศึกษารวมปีการศึกษา 2561- 2565 ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 29 ม.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล: https://info. mhesi.go.th/stat_std_all.php?search_year=2561-2565

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 29 ม.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล: https://www.ratchakitcha.soc.go. th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF

Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. 11th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2021.

Creswell JW, Clark VP. Designing and conducting mixed methods research. Los Angeles: SAGE; 2018.

Guba EG. ERIC/ECTJ Annual review paper: criteria for assessing the trustworthiness of naturalistic inquiries. ECTJ [Internet]. 1981 [cited 2023 Aug 29 ] Available from:http://www.jstor.org/stable/30219811

Streubert HJ, Carpenter RD. Qualitative research in nursing: advancing the humanistic imperative. 5th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2011.

เรณุมาศ มาอุ่น. การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2559;9(2): 169-76.

เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง, ชัจคเณค์ แพรขาว. ผลของโปรแกรม สอนการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้นต่อความรู้ และทักษะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน มัธยมประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับ ชาติและนานาชาติ; 10 มี.ค. 2560; อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560. หน้า 763-74.

พลสัณห์ โพธิ์ ศรีทอง. การบริหารทรัพยากรบุคคลและการบริหารงานบุคคล [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้น 19 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.otepc.go.th/otepc09/ files/article/article7

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ