รูปแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยงฆ่าตัวตายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • กฤษ ใจวงค์ โรงพยาบาลสันติสุข จังหวัดน่าน
  • วรยุทธ นาคอ้าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรีคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การฆ่าตัวตาย, การเฝ้าระวังและป้องกัน, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้ องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยงฆ่าตัวตายโดย การมีส่วนร่วมของชุมชน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มเจ้าหน้าทีสาธารณสุข ่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน และผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะเจาะจงจำนวน 44 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการ วิเคราะห์เนื้อหา ร่วมกับการศึกษาเอกสารข้อมูลรายงานผลการปฏิบัติงานจากฐานข้อมูลรายงานผลการปฏิบัติงาน HosXP วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้ องกันการฆ่าตัวตาย ในกลุ่มเสี่ยงมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมที่มีฐานการดำเนินงานคือชุมชน โดยมีการดำเนินงานประสานงานกันของ หน่วยงานต่างๆ ตามระดับสายการบังคับบัญชา มีกลไกทีสำคัญ คือ (1)กลไกการสนับสนุนของหน่วยงานด้านนโยบาย ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลจังหวัด (2) กลไกการบูรณาการการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการ พชอ. ทีขับเคลื่อนโดยสำนักงานสาธารณสุขอำเภอและโรงพยาบาลอำเภอ (3) กลไกการสื่อสารและการพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลโดยเจ้าหน้าทีประจำ รพ.สต. และกลไกการดำเนินงานเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายในชุมชน ทีดำเนินการโดย อสม.และผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย รูปแบบการดำเนินงานดังกล่าวสามารถเพิ่มอัตราความครอบคลุม การคัดกรองการฆ่าตัวตาย ลดอัตราการพยายามฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ (1) การขับเคลื่อนเชิงนโยบายผ่านคณะกรรมการ พชอ. (2) มีต้นแบบและแนวทางการป้ องกันเชิงรับและเชิงรุกสำหรับการ ดำเนินงาน (3) เครือข่ายการดำเนินงานมีความเข้มแข็งและ (4) ใช้ช่องทางการสื่อสารทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่ เป็นทางการเพื่อการประสานงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการสื่อสารสุขภาพในชุมชน รูปแบบการดำเนินงาน เฝ้ าระวังและป้ องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยงนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อการดำเนินงาน เฝ้ าระวังและป้ องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยงพื้นที่ที่มีบริบทเทียบเคียงโดยการปรับแนวทาง ตัวแปร ให้มีความเหมาะสมกับบริบทเชิงพื้นท

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมสุขภาพจิต. โรคซึมเศร้ากับเหล่าเซเลป. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 23 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www. dmh.go.th/news/view.asp?id=2278.

กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. รายงานอัตราการฆ่าตัว ตาย (รายต่อแสนประชากร)ปี พ.ศ. 2540-2563. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 28 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp.

พรรณพิมล วิปุลากร. Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 เม.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2021/02/20996.

ธัญญารัตน์ ปกรณ์ธนกุล. พัฒนารูปแบบประเมินคัดกรอง ภาวะซึมเศร้า 2 คำถามและ 9 คำถามที่เหมาะสมกับพื้นที่ หมู่บ้านปางช้าง ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน [รายงานวิจัย R2R]. น่าน: สถานบริการสาธารณสุขบ้านปางช้าง; 2564.

นงคราญ คชรักษา, ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ. การพัฒนา รูปแบบการป้ องกันการฆ่าตัวตายโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชน จังหวัดลำปาง. วารสารแพทย์นาวี 2563; 47(2):446-63.

พุทธิพร พงศ์นันทกุลกิจ, สุทธีพร มูลศาสตร์, ปราการ ถมยางกูร. การพัฒนารูปแบบการป้ องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่ม เสี่ยงที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2565; 38(2):187-97.

สุภางค์ จันทวานิช. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย เชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

Conelly L, But M, Goffart N, Taunton R. Methodological triangulation a study of nurse retention. Nursing Research 1997;46(5):299-302.

Cresswell J W. Research design: Qualitative and quantitative approaches. Thousand Oaks, CA: Sage; 1994.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1. นครราชสีมา: โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง; 2548.

สุพัตรา สุขาวห, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล. ปัจจัยเสี่ยงและ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น: การทบทวน วรรณกรรมเชิงลึก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560;62(4):359-78.

เนตรนภา ภมะราภา. การพัฒนารูปแบบเพื่อป้องกันการพยายามฆ่าตัวตายในผู้ป่วยซึมเศร้า จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2565; 9(3):92-107.

Wandersman A, Florin P. Community interventions and effective prevention. American Psychologist 2003; 58(6-7):441-8.

Zimmerman MA. Empowerment theory: psychological, organizational, and community levels of analysis. In: Rappaport J, Seidman E, editors. Handbook of community psychology. New York: Kluwer Academic Publishers; 2000. p. 43–63.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้