การประเมินมาตรฐานส้วมในสวนสาธารณะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฐวิภา ณะวงศ์ สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ลลิภัทร อาวุธเพชร สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • อรอุมา ปลัดรักษา สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • กามีละห์ ยะโกะ สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ส้วมสาธารณะ, มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ, โคลิฟอร์มแบคทีเรีย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมาตรฐานส้วมในสวนสาธารณะอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 5 แห่ง 12 จุด โดยใช้แบบประเมินมาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ และทดสอบการปนเปื้ อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในส้วมสาธารณะ ด้วยชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรียเบื้องต้น (SI-2) 132 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า ห้องส้วมทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 100 ส้วม ในสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติเกาะกลางบางทะลุไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด โดยด้านความสะอาด ความเพียงพอ และ ความปลอดภัย ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 55.56, 100.00 และ 40.00 ตามลำดับ มีคราบสกปรกบริเวณพื้น กระดาษชำระ ไม่เพียงพอ ไม่มีสบู่ และไม่มีฝาปิดถังรองรับมูลฝอย สำหรับผลการทดสอบการปนเปื้ อนโคลิฟอร์มแบคทีเรีย พบว่า ห้องส้วมชายมีการปนเปื้ อนมากกว่าห้องส้วมหญิง (ร้อยละ 23.61 และ 16.67) โดยห้องส้วมชาย พบการปนเปื้ อน โคลิฟอร์มแบคทีเรียบริเวณฝารองนั่งชักโครก สายฉีด และทีกดโถปัสสาวะ มากที ่ สุด ร้อยละ 33.33 สำหรับห้องส้วมหญิง พบการปนเปื้ อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียบริเวณสายฉีด และที่กดชักโครกมากที่สุด ร้อยละ 25.00 ดังนั้น หน่วยงานที่ เกียวข้องควรมีกลไกในการตรวจสอบและปรับปรุงสภาพแวดล้อมของห้องส้วมให้มีความเหมาะสม เพื่อพัฒนาส้วมสาธารณะ ่ ให้ได้มาตรฐานตามหลัก HAS อันจะส่งผลดีต่อสุขภาพที่ดีและความปลอดภัยของประชาชน ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

เจษฎา โชคดำรงสุข. สรุปผลการดำเนินงานพัฒนาส้วม สาธารณะไทยระยะที่ 1 และ 2 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://env.anamai.moph. go.th/th/sewage/download?id=80322&mid= 36126&mkey=m_document&lang=th&did=25829

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ผลการดำเนินงานส้วมสาธารณะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS ประจำปี พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 ต.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://env.anamai.moph.go.th/th/toilet-has/download?id=78997&mid=35937&mkey=m_document&lang=th&did=25411

อรุณ ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์, สถิตย์ พันวิไล, จรัญ ประจันบาล, สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. จุลินทรีย์ก่อโรคทางเดินอาหารที่สำคัญ. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ 2563;11:188-206.

ลักษณีย์ บุญขาว, นฤมล นามวงษ์. การประเมินมาตรฐานห้องส้วมและการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ในห้องส้วมสาธารณะ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562;21(3):140-51.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กิจกรรมรณรงค์วันส้วมโลก ประจำปี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://utoapp.moph.go.th/e_doc/ views/uploads/636a09a26fa8e-69b4dd3fd5f2b956aada5bd0be56d007-1355.pdf

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://env.anamai.moph. go.th/th/toilet-has/download?id=79003&mid= 35937&mkey=m_document&lang=th&did=25411

สุวิชญาน์ ใจหนิม. การศึกษามาตรฐานส้วมสาธารณะในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงถนนเชียงใหม่-ฮอด จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2561. 76 หน้า.

แสงจันทร์ กล่อมเกษม. การประเมินเบื้องต้นการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียของส้วมสาธารณะในเขตเทศบาล นครเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ 2556;14(1): 109-26.

พัชรี ศรีกุตา, ปัณรดา ฐานะปัตโต, นพเก้า บัวงาม, นรา ระวาดชัย, ทิวากรณ์ ราชูธร. การศึกษาสภาพการจัดการส้วม สาธารณะของมหาวิทยาลัย ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม การใช้ส้วมสาธารณะของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการ สคร.9 2564;27(2):43-54.

กิจจา จิตรภิรมย์. การปนเปื้อนแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะ จากส้วมที่ตั้งในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร.วารสารควบคุมโรค 2561;44(1);38-49.

กิจจา จิตรภิรมย์, ปิยะรัตน์ จิตรภิรมย์. สภาพปัญหาของส้วม และพฤติกรรมของผู้ใช้บริการส้วมที่ตั้งในแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 2560;17(2);54-68.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ