การพัฒนารูปแบบการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพและความปลอดภัยของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • ภัทรภร แคว้นคอนฉิม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านร่มโพธิ์ทอง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรู้, พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ผลกระทบทางสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

เกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวาง ส่งผลกระทบทางสุขภาพและความปลอดภัยของเกษตรกร ชุมชนและสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพและความปลอดภัย ของเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านร่มโพธิ์ - ทอง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (1) วิเคราะห์สถานการณ์การใช้ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง 195 คนและสัมภาษณ์ภาคีเครือข่าย 15 คน (2) พัฒนาและทดลองใช้ รูปแบบหมู่บ้านเสี่ยงสูง และ (3) ประเมินติดตามผลการใช้รูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีความรู้ระดับปานกลางร้อยละ 65.1 พฤติกรรมการป้ องกันผลกระทบทางสุขภาพและ ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยรวมอยู่ในระดับไม่ถูกต้อง (Mean=1.48, SD=0.22) รูปแบบ การป้ องกันผลกระทบทางสุขภาพและความปลอดภัยประกอบด้วย (1) แนวคิดการมีส่วนร่วม และแรงจูงใจในการ ป้ องกันโรค (2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ แจกคู่มือการปฏิบัติตัว นวัตกรรมรางจืดลดพิษ และ (3) ภาคีเครือข่าย ดำเนินกิจกรรมลดผลกระทบทางสุขภาพและความปลอดภัย หลังทดลองใช้รูปแบบและติดตามผล กลุ่มทดลองมี ความรู้และพฤติกรรมป้ องกันผลกระทบทางสุขภาพและความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับสูง ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีผลเลือดระดับปกติสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และ พึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในระดับมากที่สุด ควรส่งเสริมภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม เกษตรกรสร้างองค์- ความรู้และพฤติกรรมการป้ องกันสุขภาพและความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สนาน ผดุงศิลป์ . ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลวังสรรพรส อำเภอขลุง จังหวัด จันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. จันทบุรี: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจมหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2560. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานประจำปี 2561. นนทบุรี: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค; 2561.

จิรวัฒน์ เจริญสถาพรกุล. สุขภาพของผู้ปลูกยาสูบพันธุ์เบอร์เลย์: ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ที่ควรตระหนัก. นครนายก: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 79.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านร่มโพธิ์ ทอง. สรุปผล การดำเนินงานปี 2563. ขอนแก่น: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านร่มโพธิ์ทอง; 2563.

สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่. ทะเบียนเกษตรกรตำบล ใหม่นาเพียงปี 2563. ขอนแก่น: สำนักงานเกษตรอำเภอแวงใหญ่; 2563.

Daniel WW. Biostatics: basic concepts and methodology for the health. New York: John Wiley & Sons; 2010.

ประชาสรรณ์ แสนภักดี. เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมี ส่วนร่วม [อินเทอร์เน็ต]. 2547 [สืบค้นเมื่อ 1 มิ.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html

สำเริง จันทร์สุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. สถิติสำหรับการวิจัย ทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2544.

Bloom BS. Taxonomy of educational objectives, the classification of educational goals – handbook I: cognitive domain. New York: David McKay; 1956.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. องค์ความรู้เกี่ยวกับ การตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัด ศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรสสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ. พิมพ์ครั้ง ที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและเครื่องพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2560.

Cohen JM, Uphoff NT. Rural development participation: concept and measures for project design implementation and evaluation. Ithaca, NY: Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University; 1981.

Prentice-Dunn S, Rogers RW. Protection motivation theory and preventive health: beyond the health belief model. Health Education Research 2986;1(3)153–61.

Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall Inc; 1977.

บุบผา วิริยรัตนกุล, พงษ์ภัทร์ รัตนสุวรรณ, พรสวรรค์ เชื้อเจ็ดตน. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ ลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของเกษตรกร. วารสารพยาบาลทหารบก 2563;21(3);58–66.

จันทกานต์ วลัยเสถียร, ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, สมรภพ บรรหารักษ์. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562;26(1):11–26;.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ