การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กด้านสุขภาพด้วยนโยบายจังหวัดไอโอดีนยั่งยืนมุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Takasila 4.0) ของจังหวัดมหาสารคาม ปี 2561-2564

ผู้แต่ง

  • ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตเด็กด้านสุขภาพ, นโยบายจังหวัด, จังหวัดไอโอดีนยั่งยืน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กด้านสุขภาพ และศึกษารูปแบบของการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็กด้านสุขภาพด้วยนโยบายจังหวัดไอโอดีนยั่งยืนมุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart kids Takasila 4.0) ของจังหวัด มหาสารคาม รูปแบบเป็นการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ระยะเวลาการศึกษาปี 2561-2564 กลุ่มผู้ร่วมศึกษาเลือก แบบเจาะจง คือ (1) ผู้บริหารสูงสุดระดับจังหวัดจำนวน 5 คน (2) หัวหน้าหน่วยงานระดับจังหวัดจำนวน 21 คน (3) หัวหน้างานแผนของหน่วยงานจำนวน 21 คน (4) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 13 อำเภอ จำนวน 273 คน รวมจำนวน 320 คน และปี 2562-2564 เพิ่มหัวหน้าหน่วยงานระดับจังหวัดและหัวหน้างานแผน ของหน่วยงานจำนวนกลุ่มละ 15 คน รวมจำนวน 350 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นประเด็นการสัมภาษณ์ การประชุม กลุ่ม การประชุมระดมสมองและแบบประเมินผลงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า แผนการพัฒนาของปี 2561 กำหนด 5 เป้ าประสงค์จำนวน 85 ตัวชี้วัดและเพิ่มเป็น 126 ตัวชี้ วัดในปี 2562-2564 ผลการพัฒนาของปี 2561-2564 พบว่า ภาพรวมตัวชี้วัดของหน่วยงานระดับจังหวัดผ่าน เกณฑ์ร้อยละ 68.24, 87.30, 83.33, 80.96 ตามลำดับ และภาพรวมของระดับอำเภอ มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์เฉลี่ย ร้อยละ 91.38, 96.26, 95.60, 91.65 ของตัวชี้วัดทั้งหมด ตามลำดับ หลังการพัฒนาตัวชี้วัดผลลัพธ์ด้านสุขภาพ กลุ่มวัยแม่และเด็กและกลุ่มเด็กวัยเรียน จำนวน 9 ตัวชี้วัด พบว่า มี 8 ตัวชี้วัดที่มีแนวโน้มดีขึ้น มีเพียง 1 ตัวชี้วัดที่ยัง คงมีแนวโน้มเป็นปัญหาเพิ่มขึ้น คือ ระดับ TSH ในทารกแรกเกิด ผลกระทบของการพัฒนาที่วัดจากระดับสติปัญญา ในกลุ่มเด็กวัยเรียนปี 2564 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 101.49 จุด เพิ่มขึ้นจากปี 2559 จำนวน 6.4 จุด รูปแบบการพัฒนา คุณภาพชีวิตเด็กด้านสุขภาพด้วยนโยบายจังหวัดไอโอดีนยั่งยืนมุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 ของจังหวัดมหาสารคาม คือ กระบวนการดำเนินงานสำคัญ 8 กระบวนการของระดับจังหวัด ระดับอำเภอจำนวน 6 กระบวนการและระดับตำบลมี 6 กลุ่มดำเนินการ ข้อเสนอของการวิจัย คือ ควรประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพและผลกระทบของการพัฒนาต่อเนื่อง ในปี 2565-2570 ในด้านระดับสติปัญญาและควรเพิ่มด้านความฉลาดทางอารมณ์ ด้านความฉลาดทางจริยธรรม และศีลธรรม และด้านการคิดเชิงบริหาร

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 11 การพัฒนา ศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2565.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก (ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2561) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 มี.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/ 2561/A/082/T_0001.PDF

วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์, นัยพินิจ คชภักดี. บทบาทของสมอง ต่อพัฒนาการเด็ก. ใน: สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณ เทพ, อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, จริยา จุฑาภิสิทธิ์ , และคณะ, บรรณาธิการ. ตาราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม

กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลีฟวิ่ง; 2561. หน้า 3-18. 4. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564–2570. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค; 2564.

Lynn R. In Italy, north–south differences in IQ predict differences in income, Education, infant mortality, stature, and literacy. Intelligence 2010;38(1):93-100.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจสถานการณ์ ระดับสติปัญญา และความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กไทยวัย เรียนช่องว่างระหว่างเด็กเขตเมืองและชนทบ จากการสำรวจ เด็กไทยระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปี พ.ศ. 2557. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2557.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เชื่อมั่นเด็กไทย ไอคิว ดี ไอคิวเด่น สถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ในเด็กไทยระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2559.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. รายงานการสำรวจ สถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) ในเด็กชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ของจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม; 2561.

สมบัติ ธารงธัญวงศ์. นโยบายสาธารณะ: แนวคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2554.

บุญเดิม พันรอบ. นโยบาย (policy) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 22 เม.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.panrob. com/images/course/210111/%E0%B8%99%E0%B9 %82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2.pdf

ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์. การดำเนินงานจังหวัดไอโอดีนยั่งยืน มุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0). วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2561; 2(3):55-133.

ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์. สรุปการดำเนินงานวาระจังหวัด มหาสารคาม เรื่อง จังหวัดไอโอดีนยั่งยืนมุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0) ปีงบประมาณ 2561. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2561; 2(4):58-89.

ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์. การดำเนินงานจังหวัดไอโอดีนยั่งยืนมุ่ง สู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0) ปีงบประมาณ 2562-2565. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มหาสารคาม 2562; 3(5):1-103.

ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์. สรุปผลการดำเนินงานตามประเด็น ดำเนินการของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อำเภอของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2562. วารสาร วิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2562; 3(6):88-173.

ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์. สรุปผลการดำเนินงานตามประเด็น ดำเนินการของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับ อำเภอของจังหวัดมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2563. วารสาร วิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564; 5(9):209-304.

นงลักษณ์ นิรัชชัย, สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยและการพัฒนาเพื่อการปฏิรูปทั้งโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. เดินหน้าสร้างเด็กไทย ไอคิวดี การสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) และ ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี 2564. นนทบุรี: บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำกัด; 2564.

สมนึก อภิวันทนกุล, สุดารัตน์ ศิริชัยพรศักดิ์, นิยะดา บุญอภัย. ภาวะขาดสารไอโอดีนของทารกแรกเกิดและพัฒนาเด็กปฐมวัยในโรงพยาบาลสกลนคร. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563; 35(4):390-96.

Cao XY, Jiang XM, Dou ZH, Rakeman MA, Zhang ML, O’Donnell K, et al. Timing of Vulnerability of the Brain to Iodine Deficiency in Endemic Cretinism. N Engl J Med 1994;331:1739-44.

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, อรชร อินทองปาน. การวิจัยและพัฒนารูปแบบการใช้โค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านบริการสุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 25(1):167-77.

สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช. การใช้ประโยชน์ข้อมูลสถานะสุขภาพในการวิจัยและพัฒนางาน. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และ แผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการสร้างไอคิว และอีคิวเด็กสำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครองเด็กวัยแรกเกิด 5 ปี. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร, วันวิสาห์ แก้วแข็งขัน. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย; 2561.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนแม่บทการพัฒนาศักยภาพคนไทยตามช่วงวัย พ.ศ. 2561- 2579 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 มี.ค. 2566]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/ mso_web/article_attach/21617/21324.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้