ผลการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาด้านภาษาและการพูดชนิดอะเฟเซีย ที่มารับบริการงานแก้ไขการพูด สถาบันสิรินธร เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาต

ผู้แต่ง

  • สมจิต รวมสุข งานแก้ไขการพูด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
  • ภรภัทร ธนะศรีสืบวงศ์ งานแก้ไขการพูด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

คำสำคัญ:

อะเฟเซีย, โรคหลอดเลือดสมอง, การฟื้นฟูทักษะด้านภาษาและการพูด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฟื้ นฟูผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาด้านภาษาและการพูด ชนิดอะเฟเซียที่มารับบริการงานแก้ไขการพูด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้ นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และ ศึกษาแนวโน้มทักษะด้านภาษาและการพูดที่เปลี่ยนแปลง เป็นการศึกษาแบบ prospective study ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2565 โดยศึกษาจากเวชระเบียนของผู้ป่ วยนอกและผู้ป่ วยในผ่านระบบ hospital information system ใช้แบบประเมิน Western Aphasia Battery ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา independent t-test และ post hoc จากผลวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 25 ราย เพศชาย 17 ราย (ร้อยละ 68) เพศหญิง 8 ราย (ร้อยละ 32) มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 63.44 ปี (SD=9.12) มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการฟื้ นฟูในด้านความคล่องทางภาษา ด้านการฟังเข้าใจภาษา ด้านการพูดตาม และด้านการเรียกชื่อ เท่ากับ 4.04 (SD=2.60), 4.79 (SD=3.10), 6.2 (SD=3.08) และ 4.15 (SD=3.02) ตามลำดับ และคะแนนเฉลี่ยหลังการฟื้ นฟูเท่ากับ 5.08 (SD=2.36), 6.13 (SD=2.69), 7.69 (SD=2.30) และ 5.63 (SD=2.71) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนประเมินในกลุ่มตัวอย่าง ที่ได้รับการฟื้ นฟู 3 เดือน (3 ราย) ในด้านความคล่องทางภาษา การฟังเข้าใจภาษา การพูดตาม และการเรียกชื่อ เท่ากับ 2.66 (SD=1.52), 4.73 (SD=4.30), 4.10 (SD=3.96) และ 2.93 (SD=2.65) ตามลำดับ ส่วนค่าเฉลี่ย ผลต่างของคะแนนในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฟื้ นฟูมากกว่า 3 เดือน (22 ราย) เท่ากับ 0.81 (SD=1.43), 0.87 (SD=1.32), 1.13 (SD=1.60) และ 1.31 (SD=1.88) ตามลำดับ สรุปผลวิจัยได้ว่า ผลคะแนนเฉลี่ยก่อนการฟื้ นฟู ในกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนน้อยกว่าผลคะแนนเฉลี่ยหลังการฟื้ นฟูในทุกด้าน แสดงให้เห็นถึงกลุ่มตัวอย่างมีความสามารถ ดีขึ้น และค่าเฉลี่ยผลต่างของคะแนนในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฟื้ นฟู 3 เดือนและได้รับการฟื้ นฟูมากกว่า 3 เดือน มี ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านความคล่องทางภาษา การฟังเข้าใจภาษา และการพูดตาม แต่ไม่ พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านการเรียกชื่อ จึงพบว่าด้านการเรียกชื่อ เป็นปัญหาทียังหลงเหลืออยู่ ่ เป็นส่วนใหญ่ในผู้ป่ วย ทำให้มีการพูดไม่คล่อง นึกคำลำบาก ซึ่งเป็นสิ่งที่นักแก้ไขการพูดควรตระหนัก ถึงปัญหาด้าน นี้โดยเฉพาะ ในการวางแผนการฟื้ นฟู เพื่อให้ผู้ป่ วยพูดสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ. การฝึกพูดสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาด้านการพูด. วิชัยยุทธจุลสาร 2548; 32:35-43.

รจนา ทรรทรานนท์, ชนัตถ์ อาคมานนท์, สุมาลี ดีจงกิจ. ความผิดปกติทางการพูด. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการ พิมพ์; 2529.

วรวรรณ ธีระพงษ์. เปรียบเทียบความสามารถทางภาษาของผู้ป่วยไทยอะเฟเซียกับคนไทยปกติโดยใช้ แบบทดสอบ Thai adaptation of Western Aphasia Battery [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.

Ferro JM, Kertesz A. Comparative classification of aphasic disorders. Journal of clinical and experimental Neuropsychology 1987;9(4):365-75.

American Speech-Language-Hearing Association. Aphasia [Internet]. 2016 [cited 2021 Nov 15]. Availablefrom: https://www.asha.org/Practice-Portal/Clinical-Topics/Aphasia/.

สมจิต รวมสุข, อมรรัตน์ งามศรี. ค่าคะแนนความสามารถ ทางภาษาและการพูดในคนไทยปกติช่วงอายุ 15-24 ปี โดยใช้แบบทดสอบ WAB ฉบับภาษาไทย. วารสารกรมการแพทย์ 2558;40(3):66-79.

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้ นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. รายงานประจำปี สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟู สมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. ปี งบประมาณ 2563. นนทบุรี: กรมการแพทย์;2563.

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. รายงานประจำปี สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ. ปี งบประมาณ 2564. นนทบุรี: กรมการแพทย์;2564.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการวินิจฉัยและตรวจประเมินความพิการ ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ; 2555.

Pashek GV, Holland AL. Evolution of aphasia in the first-year post-onset [Internet]. 1988 [cited 2021 Nov 18]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih. gov/3191724/

Jiaranai T, Jeeraumporn J, Dechongkit S, Tiensuwan M. Outcomes of speech and language abilities and quality of life in thai people with aphasia by group therapy. Journal of Health science and Medical Research 2019;37(2):133- 44.

Papathanasiou I, Coppens P, Constantin P. Aphasia and related neurogenic communication disorders. Burlington: Jones & Bartlett Learning Publishers; 2011.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-10-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ