ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการผ่าตัดนิ่วในท่อไต ผ่านกล้องส่องตรวจท่อไตแบบวันเดียวกลับ

ผู้แต่ง

  • ธวัช ธรรมบวร กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ, นิ่วในท่อไต, การผ่าตัดนิ่วในท่อไตด้วยกล้อง

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขต่างประสบปัญหาเรื่องการแออัดและรอคอย การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ เป็นหนึ่งโครงการที่นำมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหา งานวิจัยนี้จัดทำเพื่อศึกษาผลการรักษา และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ในการผ่าตัดรักษาโรคนิ่วในท่อไตผ่านกล้องส่องตรวจท่อไตแบบวันเดียวกลับ เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไป ข้างหน้า ในผู้ป่ วยโรคนิ่วในท่อไตของโรงพยาบาลอุดรธานีและหนองบัวลำภู ระหว่างวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2565 ถึง 30 สิงหาคม พ.ศ.2566 ที่เข้ารับการผ่าตัดผ่านกล้องส่องตรวจท่อไตแบบผู้ป่ วยนอก กำหนดผลสำเร็จคือทำการ ผ่าตัดรักษาโรคนิ่วในท่อไตผ่านกล้องส่องตรวจท่อไตได้สำเร็จและระยะเวลาอยู่รักษาไม่เกิน 24 ชั่วโมง ใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แจกแจงลักษณะของข้อมูล ใช้ไคสแควร์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และใช้สมการ ถดถอยทำนายผลของปัจจัยที่มีต่อความสำเร็จ ผลการศึกษามีผู้ป่ วยทั้งหมด 65 คน เพศชายร้อยละ 55.4 หญิง ร้อยละ 44.6 อายุเฉลี่ย 50.9 ปี ผ่าตัดนิ่วในท่อไตแบบวันเดียวกลับได้สำเร็จร้อยละ 95.4 พบภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 7.7 ไม่มีผู้ป่ วยที่ต้องเข้ารักษาซ้ำแบบผู้ป่ วยในโดยไม่ได้วางแผน พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่าง ผลสำเร็จกับระยะเวลาการผ่าตัด การใส่สายระบายน้ำปัสสาวะในท่อไต การมีไข้ และอาการปวดรุนแรง (p<0.05) โดยระยะเวลาการผ่าตัดเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยสรุป การผ่าตัดนิ่วในท่อไต ผ่านกล้องส่องตรวจท่อไตแบบวันเดียวกลับ เป็นวิธีการรักษาที่มีผลสำเร็จและความปลอดภัยสูง และระยะเวลา การผ่าตัดถือเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ สามารถนำไปใช้เพื่อลดปัญหาเรื่องการแออัดและรอคอยของการให้ บริการได้เป็นอย่างด

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Shattock JG. A prehistoric or predynastic Egyptian calculus. Trans Path Soc Lon 1905;61:275.

Shah J, Whitfield HN. Urolithiasis through the ages. BJU Int 2002;89(8):801-10.

Sorokin I, Mamoulakis C, Miyazawa K, Rodgers A, Talati J, Lotan Y. Epidemiology of stone disease across the world. World J Urol 2017;35(9):1301-20.

Yanagawa M, Kawamura J, Onishi T, Soga N, Kameda K, Sriboonlue P, et al. Incidence of urolithiasis in northeast Thailand. Int J Urol 1997; 4(6):537-40.

Edvardsson VO, Indridason OS, Haraldsson G, Kjartansson O, Palsson R. Temporal trends in the incidence of kidney stone disease. Kidney Int 2013;83(1):146-52.

Pearle MS, Calhoun EA, Curhan GC. Urologic diseases in America project urolithiasis. J Urol 2005;173(3):848- 57.

Honeck P, Nordahl Gw, Krombach P, Bach T, Häcker A, Alken P, et al. Does open stone surgery still play a role in the treatment of urolithiasis? Data of a primary urolithiasis center. J Endourol [Internet]. 2009 [cited 2023 Oct 1];23(7):1209. Available frome:https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19538063/

ประวีณ ทับแสง. ต้นทุนค่าใช้จ่ายผลการรักษาและความพึง พอใจในการรักษาโรคนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบนโดย วิธีสลายนิ่วด้วยคลื่นช็อคเวฟในโรงพยาบาลมหาสารคาม. ขอนแก่นเวชสาร 2551;32(7):1-11.

Tubsaeng P, Srisarakham P, Nueaiytong K. Treatment outcomes and factors affecting the success of extracorporeal shockwave lithotripsy in urinary stone treatment: a study of ten years of data from Mahasarakham Hospital. Insight Urol 2022;43(1):33-40.

Patel SR, Nakada SY. The modern history and evolution of percutaneous ephrolithotomy. J Endourol 2015;29(2): 153-7.

Johnston WK 3rd, Low RK, Das S. The evolution and progress of ureteroscopy. Urol Clin North Am 2004; 31(1):5-13.

Matlaga B, Lingeman JE. Surgical management of urinary lithiasis. In: Wein AJ, Kavoussi LR, Novick AC, PartinAW, Peters CA, editors. Campbell-Walsh urology. 10th ed. Philadelphia: Saunders; 2012. p. 1357-410.

Ghosh A, Oliver R, Way C, White L, Somani BK. Results of day case ureterorenoscopy for stone disease. World J Urol 2017;35:1757–64.

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์, ทวี รัตนชูเอก, วิบูลย์ ภัณฑบดี- กรณ์, ฐิติกัญญา ดวงรัตน์, ทวีชัย วิษณุโยธิน, จุฬารักษ์ สิงหกลางพล. การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (one day surgery: ODS). ใน: นิภาพร แสงทอง บรรณาธิการ. การประชุม วิชาการประจำปี HA National Forum 19th คุณค่า คณภาพ คุณธรรม; 16 มีนาคม 2561; ห้องประชุมแซฟฟาย ศูนย์- การประชุมอิมแพ็ค, กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2561. หน้า 1-3.

ธัญเดช นิมานวุฒิพงษ์, ทวี รัตนชูเอก, กิตติวัฒน์ มะโนจันทร์, วิบูลย์ ภัณฑบดีกรณ์. ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบ บริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับและการผ่าตัดแผลเล็ก ปี 2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์- การพิมพ์; 2564.

Lam HS, Lingeman JE, Russo R, Chua G. Stone surface area determination techniques A unifying concept of staghorn stone burden assessment. Journal of Urology 1992;148(3):1026-9.

Taylor AL, Oakley N, Das S, Parys BT. Day-case ureteroscopy: an observational study. BJU Int 2002;89(3): 181-5.

Kremel D, Siatos D, Al Jaafari F. Ureteroscopy in the day case setting it’s worth it Retrospective single surgeon outcomes analysis during service relocation (inpatient to day case) in a DGH. Journal of Clinical Urology 2021;14(6):465-9.

Bromwich EJ, Lockyer R, Keoghane SR. Day-case rigid and flexible ureteroscopy. Ann R Coll Surg Engl 2007;89(5):526-8.

Salciccia S, Sciarra A, Pierella F, Leoncini PP, Vitullo P, Polese M, et al. Predictors of hospitalization after ureteroscopy plus elective double-J Stent as an outpatient procedure. Urol Int 2019;102(2):167-74.

Chugh S, Pietropaolo A, Montanari E, Sarica K, Somani BK. Predictors of urinary infections and urosepsis after ureteroscopy for stone disease A systematic review from EAU section of urolithiasis (EULIS). Curr Urol Rep 2020;21(4):16-23.

Chawong S, Tangpaitoon T, Liwrotsap C. Postoperative pain factors after ureterscopic removal of stones in kidney and ureter. Insight Urology 2022;43(2):119–27.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ