กระบวนการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรกของผู้สูงอายุในชุมชน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • สมิต ประสันนาการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • อัจฉรา คำมะทิตย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • ฐิติวรรณ โยธาทัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
  • ปานเพชร สกุลคู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

กระบวนการคัดกรอง, ภาวะสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

บทคัดย่อ

ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมีอัตราเพิ่มขึ้น ดังนั้นการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรกของผู้สูงอายุในชุมชนจึงมีความสำคัญ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบข้อจำกัดของหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สนับสนุนเครื่องมือคัดกรองและกระบวนการคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับกระบวนการคัดกรอง และเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมในระยะเริ่มแรกของผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้กรอบการศึกษาของสถาบันโจแอนนาบริกส์ ครอบคลุมงานวิจัยภาษาอังกฤษเฉพาะที่มีการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Medine/ Pubmed, CINAHL, ThailLIS ระหว่างปี ค.ศ. 2005-2015 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินค่างานวิจัยคือ Criical Appraisal Skill Programme (CASP) มีการตรวจสอบความถูกต้องการประเมินคุณค่าและการสกัดข้อมูลโดยทีมวิจัยผลการศึกษา พบว่า มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 318 เรื่องและถูกคัดเข้าสู่การทบทวนจำนวน 16 เรื่อง จากการทบทวนพบว่า มีเครื่องมือที่ใช้สำหรับการคัดกรองจำนวน 10 เครื่องมือ เครื่องมือ Montreal Cognitive Assessment (MoCA) ถูกนำมาใช้มากที่สุดและมีการแปลหลายภาษา รองลงมาคือเครื่องมือ Memory Impairment Screen (MIS) และ Community Screening Instrument for Dementia (CSI-D) โดย Mini-Mental State Examination (MMSE) เป็นเครื่องมือ ที่ใช้เทียบเคียงคุณภาพและเปรียบเทียบผลการคัดกรองของเครื่องมืออื่น ๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยเพื่อยืนยันว่า
ผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อม คือ The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition (DSM-IV) และพบว่า เครื่องมือที่ถูกทบทวนทั้งหมดมีคุณภาพใกล้เคียงกันในการคัดกรองและจัดประเภทผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมได้ดีกว่า MMSE โดยมีค่า specificity อยู่ในช่วง 0.80 - 0.90 และค่า sensitivity อยู่ในช่วง 0.75 - 0.96 ส่วนกระบวนการคัดกรองพบว่า มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยผ่านคลินิกบริการที่เปิดโดยมหาวิทยาลัย ผู้คัดกรอง ส่วนมากต้องผ่านการอบรมการใช้เครื่องมือหรือเป็นทีมสหวิชาชีพ และมีการใช้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ในการยืนยันภาวะสมองเสื่อม

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ