การศึกษาเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มสัดส่วนรายจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ที่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายให้กับสถานพยาบาลรัฐสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเทียบกับสถานพยาบาลภาคเอกชน
คำสำคัญ:
ค่าบริการทางการแพทย์, กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถานพยาบาลรัฐ, สถานพยาบาลเอกชนบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลัง แนวโน้มรายได้ค่าบริการทางการแพทย์ สถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและประเด็นผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบการเงินการ คลังของสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยใช้ ข้อมูลเชิงปริมาณย้อนหลัง 5 ปี (2561-2565) จากรายงานทางการเงินของสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลจากคู่มืองบบริหารจัดการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บัญชีรายจ่ายสุขภาพ โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และข้อมูลจากความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง ของสถานพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยรวมของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ ในช่วงของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อพิจารณาถึงสถานการณ์ทางด้านรายได้และค่าใช้จ่าย ของสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า รายได้ค่าบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาล ดังกล่าว มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 248,423 ล้านบาทในปี 2561 เพิ่มเป็นในปี 395,430 ล้านบาทในปี 2565 ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมของสถานพยาบาล มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 236,538 ล้านบาทในปี 2561 เพิ่มเป็นในปี 339,058 ล้านบาทในปี 2565 โดยค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรยังคงเป็นค่าใช้จ่ายหลักของสถานพยาบาล รองมาคือ ค่าใช้จ่ายวัสดุ และค่าใช้จ่ายด้านการใช้สินทรัพย์ จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้จำนวนสถานพยาบาลที่มีรายได้รวมต่ำ กว่าค่าใช้จ่ายรวมลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในภาพรวมเพิ่มขึ้นมาจากสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งการให้บริการที่เพิ่มขึ้นทั้งผู้ป่ วยนอกและผู้ป่วยใน อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นการเพิ่มขึ้นในระยะสั้น 1-2 ปีจากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงควรศึกษาและติดตาม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนด้านการเงินการคลังของประเทศต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. บัญชีราย จ่ายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2563-2564. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2566.
Tangcharoensathien V, Patcharanarumol W, Kulthanmanusorn A, Saengruang N, Kosiyaporn H. The political economy of UHC reform in Thailand: lessons for low- and middle-income countries. Health Syst Reform 2019; 5(3):195–208.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานการสร้าง ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี งบประมาณ 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ธ.ค. 2566]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.nhso.go.th/operating_results/54
กระทรวงการคลัง. กรมบัญชีกลาง แถลงการณ์การใช้สิทธิ เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด 19 ร่วมกับ สปสช. และสำนักงานประกันสังคม [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ธ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www. mof.go.th/th/detail/2020-04-03-10-20-57/ 2021- 05-19-10-47-59
กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานทางการเงิน ปี 2561- 2565. นนทบุรี: กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกัน สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข 2566.
โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการวิจัยเพื่อจัดทำชุดข้อเสนอ เชิงนโยบายและขับเคลื่อนระบบสาธารณสุขยุคใหม่ภายหลัง การระบาดโรคโควิด 19 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ธ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.hitap.net/documents/186225
ธนาคารแห่งประเทศไทย. เครื่องชี้เศรษฐกิจมหภาคของไทย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ธ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH
Hartman M, Martin AB, Washington B, Catlin A. National health care spending in 2020: growth driven by federal spending in response to the COVID-19 pandemic. Health Aff Proj Hope 2022;41(1):13–25.
Suanrueang P, Wongsin U. Cost analysis of outpatient care for mental and behavioral disorders due to psychoactive substance use: a study of four community and two general hospitals in Thailand. Asia Pac J Health Manag [Internet]. 2023 [cited 2023 Dec 24];18(1):1-9. Available from: https://journal.achsm.org.au/index.php/ achsm/article/view/1669
Wongsin U, Suanrueang P, Chen TY. Cost analysis of outpatient services for hypertension, heart attacks, and strokes among older adults in community hospitals in Thailand. J Health Syst Res 2566;17(2):317–28.
Wongsin U, Chiangchaisakulthai K, Suanrueang P, Thumvanna P, Sakunphanit T. Cost of emergency patients in public hospitals for financial policy recommendation to the universal coverage for emergency patients (UCEP). J Health Syst Res 2564;15(3):370–80.
Boonyamalik P, Maneewat T. Trends in financial management of the hospital under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health: a qualitative study. J Health Syst Res 2019;15(4):447–89.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.