ปริมาณฝุ่นละอองและความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ กรณีศึกษา บ้านดอนชาด ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สุภาณี จันทร์ศิริ กลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สิทธิชัย ใจขาน กลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ฐิติมา แสนเรือง กลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นัฎกร สุขเสริม สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
  • รัชดาพร ฐานมั่น สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ความเสี่ยงสุขภาพ, เฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณฝุ่ นละอองจากการประกอบอาชีพ และประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ จำนวน 20 แห่ง โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและแบบประเมิน ความเสี่ยงด้านสุขภาพ (health risk matrix) ตามวิธีการของระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ.2543 ผลการ ศึกษาพบว่า ปริมาณฝุ่นละอองที่มีการเก็บตัวอย่างแบบที่ตัวบุคคล และแบบพื้นที่การทำงาน มีค่าอยู่ในช่วง 0.31- 1.34 และ 0.6-1.32 mg/m3 ตามลำดับ ซึ่งทุกจุดตรวจวัดมีปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละออง มีค่าไม่เกินมาตรฐาน ของ Occupational Safety and Health Administration: OSHA standards และผลการศึกษาการประเมินความเสี่ยง ต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ในภาพรวม พบว่า ความเสี่ยงแบบที่ตัวบุคคลพบว่าอยู่ในที่ยอมรับ ได้ 9 แห่ง ระดับต่ำ 9 แห่ง และระดับปานกลาง 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 45.0, 45.0 และ 10.0 ตามลำดับ ความเสี่ยง แบบพื้นที่การทำงานพบว่าอยู่ในระดับตำ่ำ 9 แห่ง รองลงมาคือระดับที่ยอมรับได้ และระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 50.0, 45.0 และ 5.0 ตามลำดับ สัมผัสฝุ่ นละอองติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน รวมถึงการไม่ใช้อุปกรณ์ในการ ป้ องกันฝุ่นละออง อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในระยะยาวได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญและพิจารณาการรับสัมผัสฝุ่ น พร้อมทั้งจัดทำแผนการบริหารจัดการการ สัมผัสฝุ่นของคนงาน และกลุ่มแรงงานนอกระบบมีความเสี่ยงต่อทั้งการเจ็บป่ วยและบาดเจ็บทีเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน ดังนั้น การประเมินภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานในกลุ่มแรงงานนอกระบบจึงมีความสำคัญที่ต้องได้รับ การติดตามประเมินอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

พาสินี สุนากร, องอาจ ถาพรภาษี, พัชริยา บุญกอแก้ว. การ ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการจับฝุ่นละอองของ พรรณไม้เลื้อย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559;15(2):175-86.

กระทรวงแรงงาน. กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133, ตอนที่ 91 ก (ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2559).

จารุนิล ไชยพรม, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ , วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล. ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของแรงงานนอกระบบเฟอร์นิเจอร์ไม้ อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่. พยาบาลสาร 2559;43(1):70-83.

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ , ธานี แก้วธรรมานุกูล, วันเพ็ญ ทรงคำ, ญาดาทิพย์ เจริญทรัพย์. การชี้บ่งปัจจัยคุกคาม สุขภาพ ภาวะสุขภาพ การบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการ ทำงาน: การวิเคราะห์สถานการณ์ในอุสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม. พยาบาลสาร 2553;37(1):1-14.

Occupational Safety and Health Administration (OSHA). A guide for protecting workers from woodworking hazards. Washington, DC: Federal Government of USA; 1999.

Su TA, Hoe VC, Masilamani R, Mahmud AB. Hand-arm vibration syndrome among a group of construction workers in Malaysia. Occupational and Environmental Medicine 2011;68(1):58-63.

Aguwa F, Okeke T, Asuzu M. The prevalence of occupational asthma and rhinitis woodworkers in south-eastern Nigeria. Tanzania Health Research Bulletin 2007; 9(1):52-5.

Sripaiboonkij P, Phanprasit W, Jaakkola MS. Respiratory and skin effects of exposure to wood dust from the rubber tree Hevea brasiliensis. Occupational and Environmental Medicine 2009;66 (7):442-7.

ธีรวิโรจน์ เทศกะทึก. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย. พิมพ์ ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์; 2551.

Herbert FA, Hessel PA, Melenka LS, Yoshida K, Nakaza M. Pulmonary effects of simultaneous exposures to MDI formaldehyde and wood dust on workers in an oriented strand board plant. Journal of Occupational and Environmental Medicine 1995;37(4):461-5.

Blot WJ, Chow WH, McLaughlin JK. Wood dust and nasal cancer risk. Journal of Occupational and Environmental Medicine 1997;39(2):148-56.

รัชนี ขุมเงิน. รายงานการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2564. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งบอน ตำบลบุ่งหวาย; 2564.

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะของ แรงงานนอกระบบ [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://blog.spko.moph.go.th/osm/ wpcontent/uploads/2008/10/16.pdf

Occupational Safety and Health Administration (OSHA). Revised combustible dust national emphasis program [Internet]. 2023 [cited 2023 Apr 7]. Available from: https://www.osha.gov/sites/default/files/enforcement/ directives/CPL_03-00-008.pdf

กระทรวงอุตสาหกรรม. กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพ ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 129, ตอนพิเศษ 146 ง (ลงวันที่ 21 กันยายน 2555).

อุบล สิงห์แก้ว. ผลกระทบทางสุขภาพของประชาชนจากการ ประกอบอาชีพไม้แกะสลัก: กรณีศึกษา บ้านถวาย ตำบลขุนคง อำเภอเมืองหางดง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547. 86 หน้า.

Vanadzinš I, Eglîte M, Bake M, SprudŽa D, Martinsone Ž, Mârtinsone I, el al. Estimation of risk factors of the work environment and analysis of employees’ self estimation in the wood processing industry. Journal of Latvian Academy of Sciences 2010;64(1/2): 73-8.

สุภาณี จันทร์ศิริ. สภาวะฝุ่นละอองในสิ่งแวดล้อมการทำงาน และสภาวะสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพหัตกรรมหมอนขิด กรณีศึกษา: ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557. 85 หน้า

อดุลย์ บัณฑุกุล. ตำราอาชีวเวชศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ราชทัณฑ์; 2554.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้