การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการฉีดยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดใต้ผิวหนัง: Cold-Time Technique

ผู้แต่ง

  • สุนันญา พรมตวง หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลสุรินทร์

คำสำคัญ:

การฉีดยาใต้ผิวหนัง, ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด, แนวปฏิบัติการพยาบาล, รอยจ้ำเลือด, ก้อนเลือด, ความปวด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการฉีดยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดใต้ผิวหนัง และศึกษาการเกิดรอยจ้ำเลือด ก้อนเลือด และความปวดก่อนและหลังการพัฒนา ดำเนินการระหว่างมิถุนายน 2556 - มกราคม 2558 แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล การนำแนวปฏิบัติไปใช้จริงและการประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการฉีดยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดใต้ผิวหนัง 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติและกลุ่มใช้แนวปฏิบัติกลุ่มละ 30 คน พยาบาลวิชาชีพ 16 คนเก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกการรักษา แบบวัดความรู้และแบบประเมินทักษะการฉีดยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดใต้ผิวหนัง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบขนาดของรอยจ้ำเลือดและความปวดด้วยสถิติ independent t-test ผลการวิจัย ได้แนวปฏิบัติการฉีดยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดใต้ผิวหนัง แบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ (1)องค์ประกอบก่อนการบริหารยา (2) องค์ประกอบขณะบริหารยา โดยฉีดยาตามแนวทาง cold-time technique และ (3) องค์ประกอบหลังการบริหารยา ผลการนำแนวปฏิบัติไปใช้พบว่า ผู้ป่วยเกิดรอยจ้ำเลือดลดลงจากร้อยละ 63.3เหลือร้อยละ 6.7 ไม่พบผู้ป่วยเกิดก้อนเลือดใต้ผิวหนังหลังใช้แนวปฏิบัติ สำหรับขนาดของรอยจ้ำเลือดและความปวดใน 24 และ 48 ชั่วโมงภายหลังฉีดยาทั้ง 2 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยสรุปแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น สามารถลดการเกิดรอยจ้ำเลือด ก้อนเลือด และความเจ็บปวดได้ จึงควรนำแนวปฏิบัตินี้มาใช้ในการดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจทุกรายที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดใต้ผิวหนัง

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ