การปนเปื้อนแบคทีเรียในระบบน้ำกับปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในคลินิกทันตกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • ศุภิกา วงศ์อุทัย หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
  • อุไรวรรณ ไกรนรา มูรานิชิ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต

คำสำคัญ:

แบคทีเรีย, อนามัยสิ่งแวดล้อม, คลินิกทันตกรรม, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจการปนเปื้ อนแบคทีเรียทั้งหมดในระบบน้ำกับปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 16 แห่งในจังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาปริมาณ เชื้อแบคทีเรียในระบบน้ำยูนิตทำฟัน และศึกษาคุณภาพน้ำด้านเคมี-กายภาพ รวมทั้งสำรวจปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในคลินิกทันตกรรมที่มีผลต่อการปนเปื้ อนแบคทีเรีย โดยใช้แบบสำรวจที่มีค่าสัมประสิทธิแอลฟาครอนบาท 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ค่าร้อยละ ผลวิจัยพบว่า การตรวจหาปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด ในน้ำจุด OR พบตัวอย่างน้ำที่ผ่านเกณฑ์ 8 ตัวอย่าง ร้อยละ 50.00 และไม่ผ่านเกณฑ์ 8 ตัวอย่าง ร้อยละ 50.00 และ เมื่อพิจารณาตัวอย่างน้ำที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 3 ลำดับแรก ได้แก่ PK-15 พบการปนเปื้ อนของแบคทีเรียทั้งหมดในน้ำ 340,000 CFU/ml ค่า pH เท่ากับ 6.93 อุณหภูมิ เท่ากับ 25.00 0C รองลงมา PK-9 พบการปนเปื้ อนในน้ำ 9,600 CFU/ml ค่า pH เท่ากับ 6.92 อุณหภูมิ เท่ากับ 26.00 0 C PK-2 พบการปนเปื้ อนของแบคทีเรียทั้งหมดในน้ำ 1,400 CFU/ml ค่า pH เท่ากับ 7.20 อุณหภูมิ เท่ากับ 26.000 C ซึ่งค่ามาตรฐานเกณฑ์ปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด (ADA) กำหนดให้ตรวจพบได้ไม่เกิน 200 CFU/ml ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ถึงการปนเปื้ อนเชื้อแบคทีเรียภายในยูนิตทำฟัน และผลการตรวจหาปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดจากตัวอย่างน้ำจุด TS ไม่พบเชื้อแบคทีเรียทั้งหมดเนื่องจาก รพ.สต. ใช้น้ำกลั่นบริสุทธิ์ และผลการสำรวจปัจจัยด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พบว่าอุณหภูมิห้องเฉลี่ย 24.00±0.15 o C ค่า ความชื้นเฉลี่ย ร้อยละ 50.00 และมีการติดตั้ง HEPA filter ซึ่งเป็นช่วงค่าทีเหมาะสมที ่ มีผลต่อการอยู่รอดของแบคทีเรีย ่ ในอากาศต่ำที่สุดและส่งผลเสียต่อสุขภาพน้อยที่สุด ผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการจัดการอนามัย สิ่งแวดล้อมในคลินิกทันตกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคใน รพ.สต.

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์. คุณภาพอากาศในคลินิกทันตกรรม. วารสารคณะทันตแพทยศาสตร์ 2560;67(1):1-13.

พรพรรณ สกุลคู, คณภพ แต่งเมือง. ปริมาณและชนิดของเชื้อแบคทีเรียในอากาศในคลินิกทันตกรรมโรงพยาบาลชุมชน. วารสารป้องกันและควบคุมโรค ขอนแก่น 2561; 25(1):12-22.

Reinthaler F, Mascher F, Stünzner D. Serological examination for antibodies against Legionella species in dental personnel. Journal of Dentist Research 1988;6(1):942-53.

รัชนี อัมพรอร่ามเวทย์. ระบบทันตกรรมน้ำเครื่องมือทันตกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http:// www.dent.chula.ac.th

Fiorillo L, Cervino G, Laino L, D’Amico C, Mauceri R, Tozum TF, et al. Porphyromonas gingivalis, periodontal and systemic implication: a systemic review. Dent J (Basel) 2019;7(4):114.

American Dental Association. Dental unit waterlines [Internet]. 2020 [cited 2020 Sep 9]. Available from: https://www.ada.org/en/ oral-health-topics/dental-unit-waterlines

ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อทางทันตกรรมใน สถานการณ์ COVID-19 ฉบับที่ 1 วันที่ 21 เมษายน 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 8 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaidental.or.th/main/download/ upload/.pdf

Kadaifciler DG, Cotuk A. Microbial contamination of dental unit waterlines and effect on quality of indoor air. Environ Monit Asess 2014;186(6):3431-44.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แบคทีเรีย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http:// webdb.dmsc.moph.go.th

รจฤดี โชติกาวินทร์, นริศรา จันทรประเทศ, ภารดี อาษา, ทิษฏยา เสมาเงิน. การประเมินปริมาณและชนิดของ แบคทีเรียในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารบูรพาเวชศาสตร์ 2563;7(1):47-62.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ