ปัญหาการเสียชีวิตของมารดาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2561 - 2566
คำสำคัญ:
การเสียชีวิตของมารดา, มารดาเสียชีวิต, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
ประเทศไทยพบอัตรามารดาเสียชีวิตเพิ่มขึ้น สาเหตุการเสียชีวิต ได้แก่ การตกเลือดหลังคลอด ภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อครอบครัว ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา สาเหตุการเสียชีวิตของมารดาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2566 เพื่อศึกษาหาแนวทางการป้ องกัน การเสียชีวิตของมารดาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อปัญหามารดาเสียชีวิต จากการตั้งครรภ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังจาก รายงานโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 5 แห่ง โรงพยาบาลชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที 12 จังหวัดยะลา กรมอนามัย ตลอดจนข้อมูลที ่ ได้รับจากการตรวจราชการและนิเทศรวมทั้ง ่ การติดตามงาน และการศึกษาจากแฟ้ มประวัติของมารดาที่เสียชีวิตในโรงพยาบาลต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึงกันยายน 2566 ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุการเสียชีวิตมากกว่าครึ่งมาจากปัจจัยทีน่าจะป้ องกันได้ เช่น การตกเลือด ่ หลังคลอด การติดเชื้อ และภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ในการพัฒนางานด้านอนามัยแม่และเด็ก จึงควร มีการดำเนินงานในการพัฒนาระบบคุณภาพของการให้บริการ เช่น มีการจัดการงานอนามัยแม่และเด็กแบบศูนย์ ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operations Center: EOC) เพื่อช่วยให้เกิดการเฝ้ าระวังป้ องกันมารดาเสียชีวิต จากการคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นควรมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เช่น ควรมีการอบรมฟื้ นฟูใน ปัญหาทีเป็นความเสี ่ ยงหรือปัญหาที ่ ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของมารดาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถลดอัตรา ่ มารดาเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด
Downloads
เอกสารอ้างอิง
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 3 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://www.pcko.moph.go.th/ Health-Statistics/stratistics60.pdf
นงลักษณ์ รุ่งทรัพย์สิน. การเฝ้าระวังการตายมารดาไทย ปี พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [สืบค้นเมื่อ 10 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://hp.anamai.moph.go.th/th/ main-php-filename-dmkm-motherchild/ download/?- did=193812&id=44709&reload=
Say L, Chou D, Gemmill A, Tunçalp Ö, Moller AB, Daniels J, et al. Global causes of maternal death: a WHO systematic analysis. Lancet Global Health 2014;2(6): e323-33.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. วิเคราะห์ผลการดำเนิน งานเดือนตุลาคม 2562 – เมษายน 2563 ตัวชี้วัด 1.1อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/tinymce/ OPDC/OPDC2563-S/IDC1_1/opdc_2563_IDC1- 1_02.pdf
Nair M, Kurinczuk JJ, Brocklehurst P, Sellers S, Lewis G, Knight M. Factors associated with maternal death from direct pregnancy complications: a UK national case–control study. BJOG: An International Journal of Obstetrics & Gynaecology 2015;122(5):653-62.
ศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล, นิรัชรา ลิลละฮ์กุล, จามรี สอนบุตร, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. สถานการณและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของงานอนามัยแม่และเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://kb.hsri.or.th/dspace/ bitstream/handle/11228/4378/maternalhealthcare-srivipa.pdf?sequence=1&isAllowed=y
ณฐนนท์ ศิริมาศ, ปิยรัตน์ โสมศรีแพง, สุพางค์พรรณ พาดกลาง, จีรพร จักษุจินดา. การพัฒนาระบบการดูแล หญิงตั้งครรภ์ในการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดใน โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2014;32(2):37-46.
ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์ , สุชาดา วิภวกานต์, อารี กิ่งเล็ก. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการตกเลือดหลังคลอดระยะ แรกในห้องคลอด โรงพยาบาลกระบี่. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559;3(3): 127-41.
มลุลี แสนใจ. ผลการใช้รูปแบบ PMMR-Health Model เพื่อ ลดปัญหามารดาตาย เขตสุขภาพที่ 10. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30:242-55.
พิมลพันธ์ เจริญศรี, วาสนา สารการ, บาลิยา ไชยรา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะแรกในโรงพยาบาลสรรพสิทธิ ประสงค์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2017; 35(3):48-57.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.