การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการเติมคลอรีนในการผลิตน้ำบริโภค
คำสำคัญ:
การปรับคุณภาพน้ำดิบ, การเติมคลอรีน, ปั๊มสารเคม, คลอรีนอิสระคงเหลือ, การปนเปื้อนเชื้อจุลชีพบทคัดย่อ
การเติมคลอรีนเป็นขั้นตอนสำคัญในการกำจัดเชื้อจุลชีพเพื่อผลิตน้ำบริโภค ในปัจจุบันการทดสอบประสิทธิภาพ ของวิธีการเติมคลอรีนแต่ละแบบยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบตัดขวางมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการเติมคลอรีน (การใช้ปั๊มสารเคมีและการเติมคลอรีนเอง) ในกระบวนการ เตรียมน้ำดิบเพื่อการผลิตน้ำบริโภค ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างน้ำและข้อมูลจากสถานทีผลิตน้ำบริโภค 23 แห่ง ในอน้ำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย โดยเก็บตัวอย่างน้ำหลังจากเติมคลอรีนทั้งสองวิธี จากนั้นทำการวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบมาตรฐาน เพื่อทดสอบเชิงคุณภาพถึงปริมาณคลอรีนอิสระตามเกณฑ์มาตรฐาน 0.2-0.5 ppm (ผ่าน/ไม่ผ่าน) และการปนเปื้ อนเชื้อจุลชีพ (พบ/ไม่พบ) ผลลัพธ์หลักจะเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Fisher’s exact test จากการ สำรวจของผู้วิจัยพบว่า 17 จาก 23 สถานที่ผลิตน้ำบริโภค (ร้อยละ 73.9) ใช้ปั๊มสารเคมีในการเติมคลอรีน เป็นที่น่า สนใจว่าร้อยละของตัวอย่างน้ำทีผู้ผลิตใช้ปั๊มสารเคมีและใช้วิธีการเติมคลอรีนเอง มีปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือเท่ากับ ่ 94.1 และ 16.7 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยส้ำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบทิศทางของความสัมพันธ์ เช่นเดียวกันระหว่างวิธีการเติมคลอรีนและการปนเปื้ อนของเชื้อจุลชีพ (p<0.05) นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์กลุ่มย่อย เฉพาะสถานทีผลิตน้ำบริโภคทีใช้น้ำใต้ดินเป็นแหล่งของการผลิตก็ให้ผลทีสอดคล้องกัน จากผลการวิจัยจึงสามารถสรุปได้ว่า ่ การใช้ปั๊มสารเคมีมีประสิทธิภาพเหนือกว่าการเติมคลอรีนเองในกระบวนการผลิตน้ำบริโภค ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนับสนุนให้มี การใช้ปั๊มสารเคมีอย่างแพร่หลายเพื่อส่งเสริมคุณภาพของน้ำบริโภคและเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค
Downloads
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค. ประกาศเตือนประชาชนป้ องกันโรคและ ภัยสุขภาพในช่วงฤดูร้อน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 13 ส.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=17604&deptcode=
นิภาพรรณ สฤษดิ์ อภิรักษ์, ชำนาญ ไวแสน, กิตติพิชญ์ จันที, ไผท สิงห์คำ, กรรณิการ์ หมอนพังเทียม, บวรวรรณ ดิเรกโภค, และคณะ. การระบาดของโรคไว้รัสตับอักเสบเอ ในจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2555: การปนเปื้อนเชื้อจากน้ำแข็งสำหรับบริโภคของโรงงานแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558;24(4):600-11.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แนวทางการป้องกันปัญหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในการผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2547.
กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการตรวจสถานที่ ผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP น้ำบริโภค ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท. ฉบับที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2551.
คู่มือสำหรับผู้ควบคุมการผลิต น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุ ที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติและน้ำแข็งบริโภค. นนทบุรี: กองอาหาร สำนักคณะกรรมการอาหารและยา; 2564.
ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย กรมอนามัย. User manual for drinking water test kit. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2558.
คู่มือมาตรฐานน้ำดื่มประเทศไทย. สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2562.
มัทนา สมบัติวัฒนาเวศ, ชิดชนก เรือนก้อน. สถานการณ์คุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญและระบบการบำรุงรักษาในพื้นที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา. วารสารเภสัชกรรมไทย 2563;12(2):288-98.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.