ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเล่านิทานของครอบครัวคนสามวัยต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • เนตรนภา พรหมมา สาขาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พรพนา สมจิตร สาขาอนามัยชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

เล่านิทาน, ครอบครัวคนสามวัย, พัฒนาการเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ใช้รูปแบบวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่มวัด 2 ครั้ง ก่อน-หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล ของโปรแกรมการส่งเสริมการเล่านิทานของครอบครัวคนสามวัยต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในจังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง เป็นครอบครัวคนสามวัย จำนวน 70 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว โปรแกรมการส่งเสริมการเล่านิทาน และแบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ความแตกต่างของพัฒนาการเด็กปฐมวัยก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการโดยใช้ Wilcoxon signed-rank test และเปรียบเทียบความแตกต่างของพัฒนาการเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้ Mann-Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า มีการเล่านิทานใน 6 เดือนที่ผ่านมาของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ร้อยละ 60.00 เป็นจำนวน 1-3 วันต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่ใช้เวลาเล่า 10 นาที ต่อครั้ง ใช้นิทานอีสปเล่าเป็นประจำ ร้อยละ 51.43 ส่วนลักษณะพื้นฐานที่สำคัญของผู้ปกครอง ได้แก่ อายุผู้ปกครอง อายุปู่ ย่า/ตายายและสัมพันธภาพใน ครอบครัว ของเด็กปฐมวัย ได้แก่ เพศ อายุ (เดือน) BMI (กิโลกรัม/เมตร2 ) น้ำหนักแรกคลอด (กรัม) และผลประเมินพัฒนาการเด็กทีผ่านเกณฑ์ ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่าง ผลการเปรียบเทียบค่ามัธยฐานคะแนน ่ พัฒนาการของเด็กปฐมวัยในกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมเมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัย พบว่า แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้น การเล่านิทานของครอบครัวคนสามวัยมีผลกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย จึงเสนอ แนะให้ผู้ปกครองเล่านิทานให้กับเด็กปฐมวัยเป็นประจำทุกวัน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. คู่มือแนวทางการดูแลเด็กปฐมวัยจากแม่วัยรุ่น (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: มานะดีมีเดีย; 2560.

คณะกรรมการการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ National Standard for Early Childhood Care, Development and Education Thailand คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ วันที่ 2 มกราคม 2562. การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ; วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562; ห้องกรุงเทพบอลล์รูม ชั้น 2 โรงแรมรอยัล ซิตี้, กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ; 2562.

คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล กระทรวงสาธารณสุข. แบบรายงานความก้าวหน้าผลการตรวจสอบและ ประเมินผลภาคราชการประเด็นการตรวจสอบเพื่อสนับสนุน การตรวจสอบ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://nich.anamai.moph.go.th/web-upload/9x45fd5e87a10707bad447547633b2d76d/202105/m_news/9269/204371/file_download/887e17e91cebf6b1bc2333537c6efb01.pdf

Vargas-Vitoria R, Faúndez-Casanova C, Cruz-Flores A, Hernandez-Martinez J, Jarpa-Preisler S, Villar-Cavieres N, et al. Effects of combined movement and storytelling intervention on fundamental motor skills, language development and physical activity level in children aged 3 to 6 years: study protocol for a randomized controlled trial. Children 2023;10(9):1530.

Eyre ELJ, Clark CCT, Tallis J, Hodson D, Lowton-Smith S, Nelson C, et al. The effects of combined movement and storytelling intervention on motor skills in South Asian and white children aged 5-6 years living in the United Kingdom. Int J Environ Res Public Health 2020;17(10):3391.

รสสุคนธ์ อยู่เย็น. ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน ประกอบการแสดงบทบาทสมมติที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 2557;7(2):779-87.

พัชรมณฑ์ ศุภสุข. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดแบบมี โครงสร้างควบคู่การเสริมแรงทางสังคม [วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทราวิโรฒ; 2556. 182 หน้า

สถานบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย development surveillance and promotion manual (DSPM). นนทบุรี: สยามพิมพ์นานา; 2562.

กฤษดา เอื้ออภิศักดิ์ , นันทวัน สกุลดี, เดือนเพ็ญ ทองป้อง. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการเล่านิทานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กปฐมวัยต่อความรู้และ พฤติกรรมการเล่านิทานของผู้ดูแลเด็กทีมารับบริการที่คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2564;13(2):37-54.

จิราภรณ์ แสงพารา, สุพัฒนา ศักดิษฐานนท์, พูลสุข ศิริพูล, เบญจมาศ พระธานี. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านภาษาของเด็กอายุ 2-3 ปี: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2561;26(2):137-47.

ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา. ประสิทธิผลของ โปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการของเด็กอายุ 3-5 ปี. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5; 2562.

สราญจิต อินศร, ยศสยา อ่อนคำ, ฤทธิรงค์ เรืองฤทธิ์ . ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อพัฒนาการเด็ก อายุ 3-5 ปี จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2564;5(10):143-60.

ประภัสสร บราวน์, แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. การพัฒนาความ สามารถในการพูดของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการแสดงประกอบการเล่านิทาน. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2564;11(1):194-206.

นัดทพร สีสถาน, ศรีกัญภัสสร์ รังสีบวรกุล. ผลการพัฒนา ทักษะการฟังและการพูดภาษาไทยของนักเรียนชั้นอนุบาลปี ที่ 2 โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน. วารสารสังคมศาสตร์- วิชาการ 2557;7(3):7-17.

เยาวนุช ทานาม, จิราภรณ์ พจนาอารีย์วงศ์. การพัฒนา ชุดการสอนความฉลาดทางสังคมและอารมณ์ของเด็ก ปฐมวัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2564;8(11):1-11.

Muñiz EI, Silver EJ, Stein RE. Family routines and social-emotional school readiness among preschool-age children. J Dev Behav Pediatr 2014;35(2):93-9.

ดุลยรัตน์ โถวประเสริฐ. ผลของการอ่านสื่อนิทานต่อ พฤติกรรมการเลิกใช้ขวดนมของเด็กและทัศนคติของ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. วารสารทันตาภิบาล 2564; 32(1):1-12.

จุรีรัตน์ นุรักษ์, อริสรา บุญรัตน์. การพัฒนาจริยธรรมด้าน ความมีวินัยของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 3 จังหวัดสงขลา. วารสารอัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 2564;11(22):1-8.

ปัทมา ศิวะโกศิษฐ, วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์. ผลของการเล่านิทาน และบทบาทของนิทานในการส่งเสริมพฤติกรรมทาง จริยธรรมของเด็กปฐมวัยที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนใน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2562;30(1):178-88.

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลราชการ กลุ่ม กระทรวง คณะที่ 2. รายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย. [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link. php?nid=10104

มาลี เอื้ออำนวย, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา, กมลทิพย์ ทิพย์สังวาลย์, พรรณนิภา บุญกล้า, ศศิธร คำมี, กรชนก หน้าขาว. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ต่อความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของบิดามารดาและผู้ดูแล อำเภอเมือง จังหวัด ลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท 2564;3(1):48-63.

Zivan M, Horowitz-Kraus T. Parent–child joint reading is related to an increased fixation time on print during storytelling among preschool children. Brain and Cognition 2020;143:105596.

มนัสมีน เจะโนะ, รอฮานิ เจะอาแซ. ผลของโปรแกรมการ กระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในศูนย์- พัฒนาเด็กเล็กต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 2-5 ปี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2562;30(2): 80-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ