การประเมินผลการดำเนินงานโครงการรณรงค์การกำจัดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2559-2561)

ผู้แต่ง

  • อรนาถ วัฒนวงษ์ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ทองรู้ กอผจญ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

เชื้อ Opisthorchis viverrini, โรคพยาธิใบไม้ตับ, มะเร็งท่อน้ำดี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ “ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” ระยะที 1 ปี ่ พ.ศ. 2559 - 2561 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP model ใช้รูปแบบการศึกษาแบบผสมร่วมกัน ระหว่างการศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในพื้นที่เป้ าหมาย 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน สระแก้ว ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด บึงกาฬ เลย อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ศึกษาโดยวิเคราะห์ปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และ ผลลัพธ์ ใช้การทบทวนเอกสารต่างๆ ประสานพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และเก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษา พบว่า มีการดำเนินการในเรื่องของการป้ องกันควบคุมโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยง อย่างเป็นรูปธรรม มีเป้ าหมายที่ชัดเจน มีปัจจัยนำเข้า ทั้งแหล่งทุน ทรัพยากร และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ จาก กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่บุคลากรผู้เชี่ยวชาญและทรัพยากรบางส่วนยังไม่เพียงพอ กับความต้องการของพื้นที่ ด้านกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ผู้นำชุมชน ประชาชน โรงเรียน อปท. โรงเรียนในพื้นที่มีการจัดการเรียนการสอนเรื่อง OV-CCA บรรจุไว้ในวิชาสุขศึกษา ในพื้นที่ยังขาดการดำเนินการที่ เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น และภาคประชาชน การประเมินด้านผลผลิต ผลลัพธ์ เก็บข้อมูล ด้วยแบบสอบถามในประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่ดำเนินงาน จำนวน 2,952 คน ร้อยละ 61.8 เพศหญิง ระดับ การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 44.38 มีอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 89.3 ในชุมชนมีแหล่งน้ำ สาธารณะที่ใช้สำหรับจับปลา ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เสี่ยงต่อโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็ง ท่อน้ำดี เช่น ร้อยละ 17.85 อาหารใส่ปลาร้าดิบหรือส้มตำปลาร้าดิบ เป็นประจำ และร้อยละ 19.02 ยังไม่เคยคิดเลิก รับประทานอาหารดังกล่าว เป็นต้น ประชาชนบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรอง โดยร้อยละ 26.08 ให้เหตุผลว่าซื้อยาถ่ายพยาธิมารับประทานเองได้ และยังพบปัญหาเรื่องของการสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ ในระดับจังหวัด ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินการระดับพื้นที่ ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานี้ ทำให้เกิดปัญหาในการ ดำเนินงานโครงการในระยะที่ 1 ที่จะต้องนำไปพัฒนาการดำเนินงานโครงการในระยะต่อเนื่องให้โครงการเกิด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและนำไปสู่การได้รับบริการและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนคนไทยต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ. พยาธิใบไม้และปัจจัยเสี่ยงมะเร็งตับ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0205.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559-2568. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2559.

World Health Organization. Noncommunicable diseases country profiles 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.

Auerkari EI, Joewono V, Handjari DR, Sarwono AT, Suhartono AW, Eto K, et al. Expression of p27Kip1 and E-cadherin in head and neck squamous cell carcinoma of Indonesian patients. Open Dent J 2014;8:136-43.

Imsamran W, Pattatang A, Supattagorn P, Chaiwiriyabunya A, Namthaisong K, Wongsena M, et al. Cancer in Thailand vol. IX, 2013-2015. Bangkok: National Cancer Institute; 2018.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. มติสมัชชาสุขภาพ แห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2557: การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน. นนทบุรี: สำนักงานคณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2557.

Stufflebleam DL, Coryn LS. Evaluation theory, model & application. 2nd ed. SanFrancisco: Jossey-Bass; 2014.

Dao HTT, Dermauw V, Gabriel S, Suwannatrai A, Tesana S, Nguyen GTT, et al. Opisthorchis viverrini infection in the snail and fish intermediate hosts in Central Vietnam. Acta Trop 2017;170:120-5

Burli C, Harbrecht H, Odermatt P, Sayasone S, Chitnis N. Mathematical analysis of the transmission dynamics of the liver fluke, Opisthorchis viverrini. J Theor Biol 2018;439:181-94.

Kaewpitoon SJ, Rujirakul R, Loyd RA, Panpimanmas S, Matrakool L, Tongtawee T, et al. Re-examination of Opisthorchis viverrini in Nakhon Ratchasima Province, Northeastern Thailand, indicates continued needs for health Intervention. Asian Pac J Cancer Prev 2016; 17(1):231-4.

Aung WPP, Htoon TT, Tin HH, Thinn KK, Sanpool O, Jongthawin J, et al. First report and molecular identification of Opisthorchis viverrini infection in human communities from Lower Myanmar. PLoS One 2017; 12(5):e0177130.

Clauser SB, Wagner EH, Aiello Bowles EJ, Tuzzio L, Greene SM. Improving modern cancer care through information technology. Am J Prev Med 2011;40(5 Suppl 2):S198-207.

Prakobwong S, Suwannatrai A, Sancomerang A, Chaipibool S, Siriwechtumrong N. A large scale study of the epidemiology and risk factors for the carcinogenic liver fluke Opisthorchis viverrini in Udon Thani Province, Thailand. Asian Pac J Cancer Prev 2017;18(10):2853- 60.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ