นวัตกรรมระบบติดตามห่วงโซ่ความเย็นแบบออนไลน์ (Smart Cold Chain System)
คำสำคัญ:
วัคซีน, ระบบห่วงโซ่ความเย็น, ติดตาม, แจ้งเตือน, ออนไลน์บทคัดย่อ
การบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นที่ดีมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการคงคุณภาพ ของวัคซีน หากเกิดปัญหาในระบบลูกโซ่ความเย็นแล้ว อาจส่งผลให้วัคซีนเสื่อมคุณภาพได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูล การติดตาม การแจ้งเตือนและวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ และเพื่อศึกษาอุณหภูมิ ตู้เย็นจัดเก็บวัคซีนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ว่าอยู่ในช่วงที่เหมาะสมหรือไม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ จัดเก็บข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการ ช่วงเดือนมกราคม - กันยายน 2565 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน เครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ data logger และ “ระบบการติดตาม ห่วงโซ่ความเย็นแบบออนไลน์” (Smart Cold Chain System) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวนและ ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน ส่วนใหญ่มีอายุ 30-40 ปี ผ่านการอบรม มีความรู้เรื่องการ บริหารจัดการวัคซีน ร้อยละ 75.0 และเป็นผู้รับผิดชอบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ร้อยละ 37.5 การประเมิน ประสิทธิภาพของนวัตกรรม พบว่า ระบบงานแบบเดิม มีเครื่องวัดอุณหภูมิแสดงค่าแบบอัตโนมัติ ตัวเลขมีขนาดเล็ก จดบันทึกข้อมูลด้วยตัวเอง ระบบงานใหม่ “ระบบการติดตามห่วงโซ่ความเย็นแบบออนไลน์” ตัวเครื่องแสดงค่า อุณหภูมิแบบอัตโนมัติ มองเห็นตัวเลขชัดเจน มีแอปพลิเคชั่น ตรวจสอบอุณหภูมิได้ตลอดเวลา ระบบมีการจัดเก็บ ข้อมูลทุก 1 ชั่วโมง ระบบมีการติดตาม แจ้งเตือนผ่านไลน์กลุ่ม ระบบตรวจพบว่ามีค่าอุณหภูมิอยู่นอกช่วงอุณหภูมิที่ เหมาะสม ได้รับการแก้ไขภายใน 20 นาที การประเมินความพึงพอใจ ผู้ใช้ระบบการติดตามห่วงโซ่ความเย็นแบบ ออนไลน์ โดยสรุป นวัตกรรม Smart Cold Chain System สามารถนำไปใช้ได้จริง ลดภาระการทำงาน ควรมีการจัด บริการครอบคลุมทุกหน่วยงาน
Downloads
เอกสารอ้างอิง
ธีรนารถ จิวะไพศาลพงศ์, ประภัสสร ธนะผลเลิศ. การเขียน รายการอ้างอิงในเอกสารตำราวัคซีน สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 15 มี.ค.2565]. แหล่งข้อมูล: http://pidst.or.th/userfiles/65_ ระบบการควบคุมกำกับวัคซีน.pdf
ลิขิต กิจขุนทด, อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2558; 22(2):63-74.
สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรเชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 2555. นนทบุรี: สถาบันวัคซีนแห่งชาติ; 2555.
กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ.2562; กรุงเทพมหานคร: เวิร์คพริ้นติ้ง; 2562.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการดำเนินงานด้านคลังและการเก็บรักษาวัคซีน. [อินเทอร์เน็ต].2565 [สืบค้นเมื่อวันที 10 ก.พ.2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.govesite.com/uploads/20171115 1101589sMwKjB/store/20171204141416gvWa8JY.pdf
ณัฎฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle) PDA (Deming Cycle) management techniques. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย 2562:1(3):40-6.
วทัญญู เหล็บหนู. เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นตู้เย็นวัคซีน และระบบยาออนไลน์ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.sph.go.th/images/ cqi/14.pdf
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.