การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรงพยาบาลปทุมธานี
คำสำคัญ:
รูปแบบการพยาบาล, ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน, ผู้ดูแลบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรงพยาบาลปทุมธานี ดำเนินการ 3 ระยะ ระยะเวลาดำเนินการ 7 เดือน ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาโดยการรวบรวมสถิติ การทบทวนวรรณกรรม การระดมสมอง การสัมภาษณ์ การสังเกต และสรุปผลการวิเคราะห์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบและทดลองใช้รูปแบบโดยสร้างเครื่องมือดำเนินการวิจัยได้แก่ คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและคลิปสื่อวีดิทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจ ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และนำมาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วย 30 คน ผู้ดูแล 30 คน และพยาบาลวิชาชีพ 30 คน ทุกกลุ่มคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ pair t-test ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรงพยาบาลปทุมธานี ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ ผู้ป่วย และผู้ดูแล ภายหลังการใช้รูปแบบ ผู้ป่วย ผู้ดูแล และพยาบาลวิชาชีพ มีความรู้ ทักษะมากกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p:0.001) คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจมากกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p:0.001) และไม่พบอัตราการกลับมานอนซ้ำ ร้อยละ 100 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรงพยาบาลปทุมธานี มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กระทรวงสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.