ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ พิมพาสอน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

การบริโภค, เครื่องดื่มรสหวาน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยลดการ บริโภคเครื่องดื่มรสหวานในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดตาก รวมจำนวน 70 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน ที่ได้จากการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดตาก โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ส่วนกลุ่มควบคุมได้ รับการส่งเสริมสุขภาพแบบทั่วไป ข้อมูลถูกรวบรวมโดยแบบสอบถาม 6 ส่วน ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาของ แบบสอบถาม พบค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 และทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เจตคติต่อพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความตั้งใจ และพฤติกรรมการบริโภค เครื่องดื่มรสหวาน มีค่าครอนบาคแอลฟา เท่ากับ 0.80, 0.79, 0.85, 0.86 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมระหว่างกลุ่ม โดย ใช้สถิติ independent t-test และภายในกลุ่ม ใช้สถิติ paired t-test ผลการศึกษา พบว่า หลังการจัดโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อพฤติกรรมการลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ ความสามารถแห่งตน และความตั้งใจในการลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน สูงกว่าก่อนการจัดโปรแกรมและสูง กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรม การบริโภคเครื่องดื่มรสหวานและค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย ต่ำกว่าก่อนการจัดโปรแกรมและต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานได้ จึงควรนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อป้ องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และสามารถเป็นแบบอย่างการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Noncommunicable diseases 2023 [Internet]. [cited 2023 Dec 20]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ noncommunicable-diseases

World Health Organization. Guideline sugars intake for adults and children. Geneva: World Health Organization; 2015.

Singh GM, Micha R, Khatibzadeh S, Shi P, Lim S, Andrews KG, et al. Global, regional, and national consumption of sugar-sweetened beverages, fruit juices, and milk: a systematic assessment of beverage intake in 187 countries. PLoS ONE 2015;10(8):e0124845.

Bleich SN, Vercammen KA, Koma JW, Li Z. Trends in beverage consumption among children and adults, 2003- 2014. Obesity 2018;26(2):432-41.

Wang M, Yu M, Fang L, Hu RY. Association between sugar-sweetened beverages and type 2 diabetes: a meta-analysis. J Diabetes Investig 2015;6(3):360-6.

de Boer EC, de Rooij SR, Olthof MR, Vrijkotte TGM. Sugar-sweetened beverages intake is associated with blood pressure and sympathetic nervous system activation in children. Clin Nutr ESPEN 2018;28:232-5.

Yuzbashian E, Asghar G, Mirmiran P, Zadeh-Vakili A, Azizi F. Sugar-sweetened beverage consumption and risk of incident chronic kidney disease: Tehran lipid and glucose study. Nephrology (Carlton) 2016;21(7):608- 16.

Ma J, Fox CS, Jacques PF, Speliotes EK, Hoffmann U, Smith CE. et al. Sugar-sweetened beverage, diet soda, and fatty liver disease in the Framingham Heart Study cohorts. J Hepatol 2015;63(2):462-9.

Fung TT, Malik V, Rexrode KM, Manson JE, Willett WC, Hu FB. Sweetened beverage consumption and risk of coronary heart disease in women. Am J Clin Nutr 2009;89(4):1037-42.

ขนิษฐ์ รัตรรังสิมา. สถานการณ์การบริโภคน้ำตาลของ ประชากรไทย ปี 2540 - 2553. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2555;17:23-30.

ศูนย์สื่อสารสาธารณะ กรมอนามัย. กรมอนามัยเผยชานมไข่มุกพลังงานสูง ชี้ดูด 1 แก้วรับพลังงานสูงถึง 360 กิโลแคลอรี แนะเลี่ยง ดีต่อสุขภาพ 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/news260862-2/

Pan A, Hu FB. Effects of carbohydrates on satiety: Differences between liquid and solid food. Obesite 2011;6(4):206-11.

Hongsanun W, Kitreerawutiwong N, Petcharaburanin K. Sugar content in sugar-sweetened beverages in the aftermath of Thailand’s sugar tax: a cross-sectional analysis. J Med Assoc Thai 2021;104(4):1-8.

สุลัดดา พงษ์อุทธา, ปิติภา จงวัฒน์ผล, ชัชวาลย์ เผ่าเพ็ง, ภาวิน ตันตยาภิรักษ์. ผลกระทบจากการขึ้นราคาต่อพฤติกรรม การบริโภคเครื่องดื่มรสหวาน: การคาดการณ์ของผู้บริโภค. นนทบุรี: มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่าง ประเทศ; 2561.

ศูนย์อนามัยที 2 พิษณุโลก. H4U วัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 2 2566 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2566]. แหล่ง ข้อมูล: https://hpc2service.anamai.moph.go.th/workingdata/h4u.php

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. กลุ่มรายงานมาตรฐาน 2566 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2566]. แหล่ง ข้อมูล: https://tak.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

กระทรวงสาธารณสุข. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. อสม. 2566 [อินเทอร์- เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https:// www.thaiphc.net/new2020/content/1

Ajzen I. The theory of planned behavior. Organizational Behavior & Human Decision Processes 1991;50(2): 179-211.

Zoellner J, Chen Y, Davy B, You W, Hedrick V, Corsi T, et al. Talking health, a pragmatic randomized-controlled health literacy trial targeting sugar-sweetened beverage consumption among adults: Rationale, design & methods. Contemp Clin Trials 2014;37(1):43-57.

Bernard, R. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Duxbery: Thomson learning; 2000.

พรรณี ปิติสุทธิธรรม, ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ตาราการวิจัยทางคลินิก (textbook of clinical research). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2556.

จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. บทความพิเศษ:การคำนวณขนาด ตัวอย่าง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2555;20(3): 192-8.

วิลาสินี หงสนันทน์. การพัฒนาแบบสอบถามการบริโภค เครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลของวัยรุ่นไทย [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัย นเรศวร; 2563. 252 หน้า.

Cronbach L J. Essentials of psychology and education. New York: McGraw-Hill; 1984.

ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์ . แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง:การ ประยุกต์ใช้ในงานวิจัยเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2561.

วิลาสินี หงสนันทน์ , นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การประยุกต์ใช้ ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนกับความตั้งใจในการลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลในวัยรุ่น. วารสาร วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2563;31(2):240-56.

Calabro R, Kemps E, Prichard I. Socio-cognitive determinants of sugar-sweetened beverage consumption among young people: a systematic review and meta-analysis. Appetite 2023;180:106334.

ธีร์ปนกรณ์ ศุภกิจโยธิน. โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลของวัยรุ่นไทยโดยใช้ ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน. วารสารศาสตร์สุขภาพและการ ศึกษา 2563;3(3):87-101.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ