การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • วี โรจนศิรประภา โรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุุทรปราการ

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, การประเมินผล, การป้องกันควบคุมโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods rescarch) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประเมินผล การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และปัจจัยที่สามารถทำนาย การดำเมินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปริมาณเป็นผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรค ของโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 98 คน และกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นผู้บริหารประกอบ ด้วย รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางบ่อ (ดูแลงานควบคุมโรค) สาธาธารณสุขอำเภอบางบ่อ และผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภอบางบ่อ จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติติติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดดลอยพพูณแบบขั้นตอน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า ใน ภาพรวมการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ระดับสูง ร้อยละ 60.2 ปัจจัยที่สามารถทำนายการดำเนิน- งานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ อายุ และการอบรม โดยสามารถ ทำนายการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดอออกได้ ร้อยละ 42.7 ในขณะที่ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า บริบทของพื้นที่มีประชากรแฝง ประชากรต่างถิ่น แรงงานต่างด้าวจำนวนมาก มีการเคลื่อนย้ายเข้าออกของแรงงาน ลอดเวลาส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคติดต่อได้ง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งพื้นที่เขตเมืองมีปัจจัยเสี เช่น ปัญหาขยะ ปัญหาสิ่งแวดล้อม การควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบเดิมโดยวิธีกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายไม่สำเร็จ ประกอบกับข้อจำกัดทรัพยากรทั้งคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการป้องกัน ควบคุมโรคไม่เพียงพอ และ ปัญหาการคืนข้อมูลผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งล่าช้า และปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้ประโยชน์ได้ทันเหตุการณ์ ข้อเสนอแนะ ควรส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรมและภูปัญญาท้องถิ่น นำ สู่การพัฒนารูปแบบการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้การมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวโดยสรุปการ ประเมินผลการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกดังกล่าว สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นแนวทางในการ สร้างและพัฒนารูปแบบการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในบริบทของอำเภอบางบ่อในพื้นที่ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักระบาดวิทยา. ระบาดวิทยาประยุกต์เพื่อปองกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. สมุทรสาคร:

บอร์นทูบี พับลิชชิ่ง; 2560.

นที ชาวนา. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุงลายบ้าน ของน้ำมันหอม

ระเหยสกัดจากพืช. วารสารควบคุมโรค 2562;45(3):221–31.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข[อินเทอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 5 ม.ค.

.แหล่งข้อมููล:แพลตฟอร์มเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในรูปแบบดิจิทัลDigital Disease Surveillance https://ddsdoe.ddc. moph.go.th/ddss/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. รายงานระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออก ปี 2566. สมุทรปราการ:สำนักงานสาธารณสุุขจังหวัดสมุุทรปราการ; 2566.

Stufflebeam DL. Educational evaluation and decision making. Itasca, Illinois: Peacock Publishing; 1971.

ปราณ สุกุมลนันทน์. การประเมินผลการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานโรคไข้เลือดออก อำเภอภักดี

ชุมพล จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุุขภาพ 2563; 16(2):15-24.

วิมลรัตน์ ถนอมศรีเดชชัย, รัตนาภรณ์ อาษา, อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภออ่าวลึก

จังหวัดกระบี่. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช 2560;36(1):86-97.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning.

New York: Megraw-Hall; 1971.

เตือนใจ ลับโกษา. รููปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพชุุมชน

ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2560; 19(1):44–54.

มาธุพร พลพงษ์. การพัฒนารููปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของ

ชุมชนตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุุง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณ

สุขภาคใต้ 2561;4(ฉบับพิเศษ): 243-59.

รัตนภรณ์ ดุสิต. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนบ้านหัน ตำบลเขวา อำเภอเมือง

จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2561;18(3):107–16.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ