รูปแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขระดับเครือข่ายบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กมลา วัฒนายิ่งเจริญชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การติดตามและประเมินผล, เครือข่ายบริการสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศติดตามประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขระดับเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดขอนแก่น โดยการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น การพัฒนาเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์สภาพปัญหาการติดตามและประเมินผล พัฒนา รูปแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วม ประเมินผลและประเมินคุณภาพรูปแบบหลังการพัฒนา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรศึกษาคือบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการดำเนินงานการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขระดับเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดขอนแก่น (2) การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุข (3) การนำรูปแบบไปใช้ในการดำเนินงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขระดับเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดขอนแก่น และ (4) การประเมินรูปแบบสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขระดับเครือข่ายบริการสุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามแนวทางการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกตัวชีวัด แบบบันทึกผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด และแบบประเมินมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานสาธารณสุขระดับเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดขอนแก่นมี 3 ประเด็นคือ (1) การถ่ายทอดนโยบายสู่หน่วยงานเครือข่ายสุขภาพมีส่วนร่วมค่อนข้างน้อยในการจัดทำตัวชี้วัดการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน (2) กระบวนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลยังขาดการพัฒนาบุคลากรหน่วยงานเครือข่ายสุขภาพให้เป็นทีมนิเทศ ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเครือข่ายสุขภาพ และ (3) ยังขาดการพัฒนามาตรฐานการประเมินและการนำผลประเมินไปใช้ ส่วนด้านการนำรูปแบบไปใช้โดยผลการดำเนินงานสาธารณสุขระดับเครือข่ายบริการสุขภาพมีคะแนนเพิ่มสูงขึ้น และผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจต่อรูปแบบในระดับมากที่สุด เมื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับมากที่สุดทุกมาตรฐาน สะท้อนว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นได้ก่อให้เกิดการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ดังนั้น รูปแบบการนิเทศติดตามประเมินผล ซึ่งเชื่อมโยงนโยบายทุกระดับตั้งแต่ระดับกระทรวง กรม จังหวัด โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ช่วยส่งเสริม ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสาธารณสุขระดับเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัด ส่งผลให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-10-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ