รูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติด โดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ธนวรรษ หาญสุริย์ โรงพยาบาลกุดบาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

รูปแบบการบำบัด, ยาเสพติด, โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการรูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพและปัญหาการฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงของการใช้สารเสพติด ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในตำบลกุดบาก ตำบลนาม่อง และตำบลกุดไห จำนวน  23,967 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970 : 607- 610, อ้างถึงใน บุญชม ศรีสะอาด, 2556 : 43) ได้จำนวน 377 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) ซึ่งใช้หมู่บ้านเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามสภาพที่เป็นจริงของการใช้สารเสพติดของคนในชุมชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับสภาพและปัญหา ความต้องการ และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยการสนทนากลุ่ม (Focus  Group) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดประเด็นคำถามแบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ระยะที่ 2 สร้างและพัฒนารูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางโดย 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ขั้นตอนที่ 2 ยกร่างรูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลางโดย 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาองค์ประกอบของโปรแกรมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพที่เป็นจริงของการใช้สารเสพติดของคนในชุมชน อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร พบว่า ด้านสภาพที่เป็นจริงในชุมชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.05) ส่วนด้านปัจจัยของชุมชนในการป้องกันยาเสพติด พบว่า รวมอยู่ในระดับปานกลาง  (X ̅=3.24)
  2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ระบบและกลไกของรูปแบบ 4) กระบวนการของรูปแบบ 5) การประเมินผลของรูปแบบ พบว่า รูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร มีค่าความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ที่ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (X ̅= 4.95)
  3. ผลการศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการบําบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงพยาบาลกุดบาก จังหวัดสกลนคร พบว่า ผลลัพธ์การบำบัดผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดในอำเภอกุดและยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยโดยสมัครใจ จำนวน 15 คน สามารถบําบัดครบตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 100 และผลการติดตามหลังการบําบัดครบ 1 เดือนของผู้ใช้ยาเสพติดสามารถหยุดเสพได้คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการติดตามหลังบําบัดครบ 3 เดือนสามารถหยุดเสพได้คิดเป็นร้อยละ 100

 

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

วิธีการอ้างอิง