การพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อำภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ปี 2559-2562

ผู้แต่ง

  • วีระเทพ แจ่มจันทร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี
  • ไพศาล อินทร์ผาย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค, วัคซีนพื้นฐาน, ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน

บทคัดย่อ

การพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ปี 2559-2562 นี้ เป็นวิจัยการเชิงปฏิบัติ การ ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยผู้ที่่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 29 คน เจ้าหน้าที่องค์์กร ส่วนท้องถิ่น 10 คน อาสาสมัครสาธารณสุข 659 คน ดำเนินการระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2562 เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ การประชุมกลุ่ม และเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานจากทะเบียนติดตามเด็ก 0-5 ปี โปรแกรม Hosxp PCU สมุดบันทึกอนามัยแม่และเด็ก รายงาน HDC กระทรวงสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การบรรยายข้อมูล และค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุุณภาพ วิเคราะห์จากเนื้อหาของข้อมูลู (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคดีขึ้้น คือความครอบคลุมวัคซีนเด็ก อายุ 1 ปี ในปี 2559 ก่อนดำเนินการรูปแบบใหม่มีความครอบคลุมร้อยละ 18.13 หลังใช้รูปแบบใหม่ในการดำเนินงาน ปี 2560 – 2562 มีความครอบคลุมร้อยละ 95.45, 99.36 และ 99.40 ตามลำดับ กลุ่มเด็กอายุ 5 ปี ก่อนใช้รูปูแบบ ใหม่ในการดำเนินงานปี 2559 มีความครอบคลุมร้อยละ 3.39 หลังใช้รูป แบบใหม่ในการดำเนินงานปีี 2560 2562 มีีความครอบคลุมร้อยละ 25.88, 92.59 และ 100 ตามลำดับปัจจัยสำคัญที่่ทำำให้ผลการดำเนินงานดีขึ้้น คือ การบัันทึึกข้้อมููลอย่างมีปีระสิทธิภาพ และการปรับปรุงระบบบติดตามให้มีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค. ตำราวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2562. นนทบุรี: เวิร์คพริ้นติ้ง; 2562.

UNICEF. Expanding immunization coverage [Internet] [cited 2020 Jun 1]. แหล่่งข้้อมููล: https://www.unicef.org/ immunization/index_coverage.htm

กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2557. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2557.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี. รายงานการสำรวจความครอบคลุมการได้รับวัคซีนพื้นฐานและวัคซีน นักเรียนปี 2561 จังหวัดสระบุรี [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 มิิ.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล http://www.sro.moph.go.th/ewtadmin/ewt/saraburi_web/ewt_dl_link.php?nid=5423

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. รายงานผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอำเภอเสาไห้ ปี 2559. สระบุรี: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสาไห้; 2559.

กระทรวงสาธารณสุุข HDC กระทรวงสาธารณสุุข- HDC Service [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ต.ค. 2559]. แหล่งข้อมููล: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_ pk.php

พอพิศ วรินทร์์เสถียร, เผด็จศักดิ์ ชอบธรรม, ปิยะนาถเชื้อนาค. การประเมินมาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภููมิคุ้มกันโรคของหน่่วยบริการภาครัฐของประเทศไทยปี 2558. วารสารควบคุมโรค2559;42(2):79-93.

รุสนา ดอแม็ง. ปัจจัยที่มีผลในการนำบุตรหลานอายุุ 0–5 ปี รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มโรคพื้นฐาน

ของผู้ปกครอง จังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต]. ปัตตานีี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์์ วิทยาเขตปัตตานี; 2559.

สวัสดิ์ อภิวัจนีวงศ์, สุวิชธรรมปาโล, สมคิด เพชรชาตรี, อาอิ ซะฮ์ มููซอ. ปัจจัยความสำเร็จต่อการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่เป็นเลิศของสถานบริการสาธารณสุขพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(2):263-72.

ศุภานิช ธรรมทินโน. การพัฒนาระบบติดตามความครอบคลุุม ในการรับวัคซีนของเด็ก 0-5 ปี ในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุุขภาพ 2561; 1(3):62-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ