การพัฒนารูปแบบเพื่อลดการบาดเจ็บเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ ผ่านศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เปรมปรีดิ์ ชวนะนรเศรษฐ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา
  • ศิริแข ขันทองคำ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา
  • กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • มานะชัย สุเรรัมย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุทางถนน, รถจักรยานยนต์, ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ผ่านศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอ ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 กลุ่ม คือ 1) แกนนำคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด จำนวน 8 คน 2) แกนนำศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเสี่ยงสูงใน 9 อำเภอ จำนวน 27 คน 3) แกนนำปฏิบัติการระดับอำเภอ 180 คน ดำเนินการช่วงพฤศจิกายน 2566 - สิงหาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมิน แบบเก็บข้อมูลการสวมหมวกนิรภัย แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์จากเนื้อหาของข้อมูล  

          ผลการศึกษา พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์เป็นสัดส่วนร้อยละ 44.00-50.00 การขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ ยังไม่ครอบคลุมทุกอำเภอเสี่ยงสูง รวมทั้งขาดการจัดการปัญหาแบบมุ่งเป้าผลลัพธ์ในกลุ่มอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ และขาดองค์ความรู้ในการจัดการปัญหาเชิงระบบ ได้นำเข้าสู่การพัฒนารูปแบบร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่าคะแนนการประเมินตนเองเพิ่มขึ้นทุกด้าน อัตราการสวมหมวกนิรภัยจากร้อยละ 79.55 เป็นร้อยละ 95.86 และจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงใน 4 อำเภอ แม้ว่าจำนวนผู้บาดเจ็บมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผลการพัฒนารูปแบบการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจากรถจักรยานยนต์ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และกำหนดเป้าหมาย 2) วางแผนและออกแบบมาตรการ 3) ขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4) เรียนรู้และพัฒนา และ 5) ขยายผลและต่อยอด โดยสรุปรูปแบบที่พัฒนาสามารถทำให้ลดการเสียชีวิต สามารถเพิ่มอัตราสวมหมวกนิรภัยได้ รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงได้  

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

วิธีการอ้างอิง