ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงต่ออาการโควิด-19 กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จุมพล ตันติวงษากิจ สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สราญจิต วิมูลชาติ สถาบันราชประชาสมาสัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคเรื้อน, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ระดับความรุนแรงอาการโควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง รวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากข้อมูลรายงานการสอบสวนโรคและทะเบียนประวัติการรักษาในระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันราชประชาสมาสัย ปี 2563 - 2564  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงต่ออาการโควิด-19 กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อน ในประเทศไทย โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานโดยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ ผลการศึกษาพบผู้ป่วยโรคเรื้อนป่วยเป็นโควิด-19 จำนวน120 คน เพศชาย ร้อยละ55.8  อายุเฉลี่ย 71 ปี มีโรคประจำตัวร้อยละ 80.8 พิการร้อยละ 75.0  พึ่งพิงร้อยละ 57.5  สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงต่ออาการโควิด-19  ได้แก่เพศชาย (OR = 0.45,95%CI : 0.21-1.00)  มีอาชีพ (OR =0.37 ,95%CI :0.16 -0.80 )  ดื่มสุรา (OR = 0.29 ,95% CI : 0.09  - 0.88)  มีโรคประจำตัว (OR = 2.56 ,95% CI : 1.01 -6.46 )  ผล X- Ray ปอดผิดปกติ (OR = 3.65 ,95% CI : 1.63 – 8.15) การใช้ยารักษาวิพิราเวียร์ร่วมกับยาอื่นๆ (OR = 2.40 ,95% CI : 1.06 -5.46 )การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำร่วมกับยารักษา (OR = 2.32 ,95% CI : 1.05 – 5.13 ) ความเข้มข้นของเลือดผิดปกติ (OR = 0.38 ,95% CI : 0.16 – 0.85)  และเมื่อควบคุมอิทธิผลของตัวแปรกวน พบว่า ผล X- Ray ที่มีปอดผิดปกติ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อระดับความรุนแรงต่ออาการโควิด-19 กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อน (aOR = 3.30 ,95% CI : 1.10 - 9.85 )

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

วิธีการอ้างอิง