การศึกษาย้อนหลังประสิทธิผลของการฝังเข็มรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
คำสำคัญ:
การฝังเข็ม, โรคหลอดเลือดสมอง, ค่า Barthel index (BI)บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการฝังเข็มฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยศึกษาย้อนหลังจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยในโรงพยาบาล 5 แห่ง ในเขตบริการสุขภาพที่ 3 - 6ได้แก่ โรงพยาบาลหนองฉาง โรงพยาบาลบางกรวย โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น โรงพยาบาลกระทุ่มแบน และโรง-พยาบาลพนัสนิคม ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (รหัสโรคหลัก 160-64) ที่ได้รับการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันจนพ้นระยะวิกฤตในช่วงไม่เกิน 6 เดือน และได้รับการฝังเข็มร่วมกับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนมิถุนายน 2564 ทุกรายของโรงพยาบาลทั้ง 5 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ และวิเคราะห์ค่าผลการประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Barthel index; BI) การประเมินอื่น ๆ ด้วยสถิติ Pair t-test โปรแกรมวิเคราะห์ผลสำเร็จรูป กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p0.05) ผลการศึกษามีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทั้งหมด 74 คน อายุเฉลี่ย 60.8 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 67.6) อายุระหว่าง 51-60 ปี (ร้อยละ 36.5) ผู้ป่วยร้อยละ 71.6 มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้ป่วยร้อยละ 95.9 มาด้วยแขนขาอ่อนแรงซีกเดียว มีอาการก่อนฝังเข็มเฉลี่ย 13.78 วัน ได้รับการฝังเข็มเฉลี่ย 12.34 ครั้ง (SD 8.18) ผลการประเมิน BI เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพิ่มขึ้น 3.78 หลังการฝังเข็ม (p<0.05) และไม่พบผู้ป่วยที่มีค่า BI แย่ลง การประเมินความสามารถของกำลังกล้ามเนื้อ (motor power) ที่อยู่ระดับ 0-4 มีผลคะแนนเพิ่มขึ้นภายหลังการรักษา สำหรับผลข้างเคียงพบร้อยละ 12.2 ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง คือ ซ้ำเป็นจ้ำเลือดภายหลังการฝังเข็ม
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.