การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยในชีวิตประจำวัน ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และผลกระทบทางจิตสังคมจากการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยของคนพิการทางการเคลื่อนไหว
คำสำคัญ:
คนพิการ, อุปกรณ์เครื่องช่วย, กิจวัตรประจำวัน, ความพึงพอใจ, ผลกระทบทางจิตสังคมบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยในชีวิตประจำวัน ความพึงพอใจต่ออุปกรณ์เครื่องช่วยและบริการที่ได้รับจากภาครัฐ และผลกระทบทางจิตสังคมของอุปกรณ์เครื่องช่วยในคนพิการทางการเคลื่อนไหว ทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 418 รายจาก 10 จังหวัดทั่วประเทศ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ร่วมกับแบบประเมินความพึงพอใจต่อเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และแบบประเมินผล-กระทบทางจิตสังคมของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกฉบับภาษาไทย ผลการศึกษา พบว่า รายการอุปกรณ์เครื่อง ช่วยที่กลุ่มตัวอย่างใช้งาน 4 ลำดับแรก คือ รถนั่งคนพิการ (ร้อยละ60.77) อุปกรณ์ช่วยเดิน (ร้อยละ 46.41) เบาะรองนั่ง (ร้อยละ13.40) และขาเทียม (ร้อยละ11.72) ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจต่ออุปกรณ์เครื่องช่วยที่ได้รับจากภาครัฐในระดับค่อนข้างพึงพอใจ (mean 3.67, SD 0.77) เช่นเดียวกับความพึงพอใจต่อการบริการ (mean 3.59, SD 0.92) ประเด็นด้านอุปกรณ์เครื่องช่วยที่กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับต่ำกว่าด้านอื่น ๆ คือ น้ำหนัก ความคงทน และประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ส่วนด้านบริการ คือระบบบริการ การซ่อมแซมและบำรุงรักษาและการติดตามผล ด้านภาพรวมผลกระทบทางจิตสังคมของอุปกรณ์เครื่องช่วย พบว่า ร้อยละ 66.15 ของกลุ่ม-ตัวอย่างรู้สึกว่าการใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยส่งผลกระทบทางจิตสังคมเชิงบวก รองลงมาร้อยละ 23.26 รู้สึกว่าไม่มีผล-กระทบ และร้อยละ 10.60 รู้สึกว่ามีผลกระทบเชิงลบ เมื่อพิจารณาหัวข้อย่อย แยกตามประเภทอุปกรณ์เครื่องช่วยพบว่า อุปกรณ์เครื่องช่วยทุกประเภทมีผลกระทบทางจิตสังคมเชิงบวกในด้านการปรับตัว (adaptability) สูงที่สุดรองลงมาได้แก่ ด้านความสามารถ (competency) และด้านการเห็นคุณค่าในตัวเอง (self-esteem) ผลการศึกษาครั้ง นี้อาจใช้ในการพัฒนาระบบบริการอุปกรณ์เครื่องช่วยที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน การพัฒนาบริการซ่อมแซมบำรุงรักษา และการติดตามผลจะช่วยส่งเสริมให้คนพิการสามารถใช้งานอุปกรณ์เครื่องช่วยได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.