การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพด้านเครื่องสำอางของประเทศ: ห้องปฏิบัติการทดสอบ แคนนาบินอยด์ในเครื่องสำอาง
คำสำคัญ:
กัญชา, กัญชง, แคนนาบินอยด์, เครื่องสำอาง, โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพบทคัดย่อ
นโยบายกัญชาทางการแพทย์ และการกำหนดให้กัญชาและกัญชงไม่เป็นยาเสพติดให้โทษของรัฐบาล ทำให้เกิดกระแสการนำกัญชาและกัญชงซึ่งมีแคนนาบินอยด์เป็นสารสำคัญมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล และการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิง ด้านเครื่องสำอางของประเทศจึงดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพด้านเครื่องสำอาง โดยการพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์ปริมาณ delta-9-THC และ CBD ในเครื่องสำอาง จนได้รับการรับรอง ISO/IBC 17025: 2017เป็นแห่งแรกของประเทศ การพัฒนาขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 9 แห่ง ศึกษาและพัฒนาการเตรียมตัวอย่างทดสอบความชำนาญการตรวจวิเคราะห์แคนนาบินอยด์ในเครื่องสำอาง โดยการเตรียม ตัวอย่างครีม และแชมพูที่มี delta-9-THC และ CBD เป็นส่วนผสม และดำเนินการเปรียบเทียบผลการตรวจ วิเคราะห์ปริมาณ delta-9-THC ให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จำนวน 9 แห่ง ประเมินด้วย z score ตาม ISO 13528: 2015 พบว่า ห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับน่าพอใจ นอกจากนี้ได้ร่วมกับศูนย์-วิทยาศาสตร์การแพทย์ 7 แห่ง สำรวจคุณภาพเครื่องสำอางที่ระบุว่าใช้กัญชาหรือกัญชงเป็นส่วนผสมจำนวน 69 ตัวอย่าง ซึ่งสุ่มเก็บจาก 8 จังหวัด ใน 4 ภาค พบว่า มีเครื่องสำอางไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 11.6 เนื่องจาก พบปริมาณ delta-9-THC และจำนวนรวมของแบคทีเรีย ยีสต์ และรา ที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดพบโลหะหนัก 3 ชนิด และสารหนูไม่เกินมาตรฐาน แต่ไม่พบจุลินทรีย์ก่อโรคทั้ง 4 ชนิด และพบ CBD ความเข้มข้นระหว่างร้อยละ 0.004 - 1.761 โดยน้ำหนัก จำนวน 26 ตัวอย่าง สิ่งเหล่านี้ จำเป็นต้องได้รับพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และสนับสนุนขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.