ความชุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยในผู้สูงอายุ และผลของคู่มือโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจต่อสมรรถภาพสมอง ของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพิชชา สายสิทธิ์ งานกิจกรรมบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลพระปกเกล้า

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะ mild cognitive impairment, สมรรถภาพสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความซุกของภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อย (mild cognitive impairment - MCI) ของผู้สูงอายในชุมชมชนจังหวัดจันทบุรี เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพสมองของผู้สงอายุที่มีภาวะ MCI ในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับคู่มือโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจ และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุที่มีภาวะ MCI ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับคู่มือโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลสุขภาพตามปกติหลังการทดลองสิ้นสุด เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research design) ประชากรที่ศึกษาคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและหญิง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลค่ายเนินวง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 856 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 273 คนโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (sample random sampling) จากวิธีจับฉลาก และนำมาคัดเลือกตามเกณฑ์คุณสมบัติให้ได้กลุ่มตัวอย่าง 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 23 คน และกลุ่มควบคุม 23 คน ออกหน่วยลงพื้นที่สัมภาษณ์และใช้แบบประเมิน MoCA และ MoCA-B สถิติ ทดสอบค่าที (t-test) ระยะเวลาศึกษา 1 ปี 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีภาวะ MCI จำนวน 167คน (ร้อยละ 61.2) ผู้สูงอายุหลังจากได้รับคู่มือโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจมีคะแนนความสามารถของสมองมากกว่าก่อนได้รับคู่มือ และกลุ่มที่ได้รับคู่มือโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลสุขภาพตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การคัดกรองภาวะ MCT ได้ในช่วงเริ่มต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก หากบุคลากรทางสาธารณสุขสามามารถคัดกรองเพื่อส่งต่อการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ ครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้ ยังพบว่า การนำคู่มือโปรแกรมฝึกความคิดความเข้าใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะความสามารถของสมองบกพร่องเล็กน้อยไปใช้ฝึกตนเองที่บ้านตามคำแนะนำที่ได้รับสามารถช่วยส่งเสริมความสามารถของสมองได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

วิธีการอ้างอิง