แนวทางการเฝ้าระวังสมรรถภาพการได้ยินในพนักงาน ที่ทำงานสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษต่อระบบการได้ยิน ร่วมกับการสัมผัสเสียงดัง

ผู้แต่ง

  • พศวีร์ วินันทมาลากูล ศูนย์เวชศาสตร์อุตสาหกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย
  • จารุพงษ์ พรหมวิทักษ์ ศูนย์เวชศาสตร์อุตสาหกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

สารเคมีที่เป็นพิษต่อระบบการได้ยิน, การสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง, การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน

บทคัดย่อ

โรคประสาทหูเสื่อมจากการทำงาน เป็นโรคที่พบได้บ่อยและสามารถป้องกันได้ด้วยการควบคุมระดับเสียงดังในที่ทำงานหรือใช้อุปกรณ์ป้องกันลดเสียง นอกจากเสียงดังแล้ว ยังมีสารเคมีบางชนิดหากสัมผัสปริมาณหนึ่งจะเป็นพิษต่อระบบการได้ยิน ทำให้เกิดโรคประสาทหูเสื่อมจากการทำงานได้แม้ว่าระดับเสียงดังในที่ทำงางานจะมีค่าไม่เกินมาตรฐาน เพราะคุณสมบัติเสริมฤทธิ์กันของสารเคมีที่เป็นพิษต่อระบบการได้ยินและการสัมผัสเสียงดัง การศึกษานี้ ต้องการหาแนวทางการเฝ้าระวังทางสุขภาพด้วยการตรวจสมรรถภาพการได้ยินว่าควรทำที่การรับสัมผัสความเข้มข้นของสารเคมีและระดับเสียงที่รับสัมผัสเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานเท่าไหร่ จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องของ 5 หน่วยงานใน 4 ประเทศ พบสารเคมีที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเป็นพิษต่อระบบการได้ยินมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ สไตรีน โทลูอีน พาราไซลีน เอทิลเบนซีน คาร์บอนมอนอกไซด์ โฮโดรเจนไซยาไนด์และตะกั่ว และมี 5 หน่วยงานจาก 3 ประเทศได้เขียนแนวทางในการตรวจสมรรถภาพการได้ยินเมื่อมีการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงทั้งสองอย่างร่วมกันโดยการนำค่าขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีและระดับเสียงดังเฉลี่ยตลอดการทำงานมาประเมินความเสี่ยง ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีการกำหนดคำค่าขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีที่แตกต่างกันตามความเข้มงวดของหน่วยงาน ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการเฝ้าระวังฯ สามารถแบ่งออกเป็น 3 กรณี กรณีที่หนึ่ง ไม่ต้องเฝ้าระวังเมื่อระดับเสียงดัง เฉลี่ยตลอดการทำงานน้อยกว่า 80 เดซิเบลเอร่วมกับความเข้มข้นสารเคมีในบรรยากาศการทำงานน้อยกว่า 20% OEL กรณีที่สอง ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างน้อยทุก 2 ปี เมื่อระดับเสียงดังฯ มากว่าเท่ากับ 80 เดซิเบลเอ หรือความเข้มข้นสารเคมีฯ อยู่ในช่วง 20% - 50% OEL อย่างใดอย่างหนึ่ง และกรณีที่สาม ต้องมีการเฝ้าระทุก 1 ปี เมื่อระดับเสียงดังฯ มากกว่าเท่ากับ 80 เดซิเบลเอร่วมกับความเข้มข้นสารเคมีฯ อยู่ในช่วง 20% - 50% OEL หรือความเข้มข้นสารเคมีฯ มากกว่า 50% OEL อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยสรุปแล้วแนวทางนี้เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น สถานประกลบการควรเลือกขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีที่เหมาะสมกับความเสียงที่ยอมรับได้ แต่แนะนำให้อ้างอิงกับขีดจำกัดความเข้มข้นของกฎกระทรวงแรงงาน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

วิธีการอ้างอิง