ปัจจัยทางสุขภาพและสังคมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกยาสูบ: การทบทวนวรรณกรรม
คำสำคัญ:
ผลกระทบของการปลูกยาสูบ, ช่องว่างงานวิจัย, ยาสูบ, ชาวไร่ยาสูบบทคัดย่อ
กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) เป็นกรอบอนุสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชากรโลกให้ปลอดภัยจากผลเสียของการบริโภคยาสูบและการสูดดมควันยาสูบประเทศไทยในฐานะประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมให้สัตยาบันกับกรอบอนุสัญญาดังกล่าว และจำเป็นต้องตอบสนองด้วยการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยยังมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 18 ว่าด้วยการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเพาะปลูกยาสูบและผลิตยาสูบ ค่อนข้างจำกัด บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนบทความวิจัยต้นฉบับเกี่ยวกับผลกระทบของการปลูกยาสูบทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย และระบุช่องว่างงานวิจัยในประเทศไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบทความวิจัย ต้นฉบับที่เกี่ยวข้องกับกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลกมาตรา 18 ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ไว้ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย ผลการสืบค้นได้บทความทั้งสิ้น 559 บทความ และ คัดเลือกบทความตามเกณฑ์ที่กำหนดได้จำนวน 37 บทความ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าบทความวิจัยต้นฉบับทั้งหมดมีการศึกษาผลกระทบของการปลูกยาสูบ 4 ด้าน คือ ผลกระทบต่อสุขภาพด้านร่างกาย ด้านสุขภาพจิต และด้าน คุณภาพชีวิตของชาวไร่ยาสูบ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจิตของชาวไร่ยาสูบและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังเป็นช่องว่างงานวิจัยและอาจทำให้ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นผลมาจากการปลูกและผลิตยาสูบในประเทศไทยอย่างเป็นรูธรรมได้ ดังนั้น ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบควรกำหนดประเด็นวิจัยที่ยังเป็นส่วนขาดสำหรับปิดช่องว่างงานที่ค้นพบ ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.