การทำนายความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศโดยใช้ แบบจำลองคุณภาพอากาศ AERMOD และผลกระทบ ด้านสุขภาพของประชาชนรอบโรงไฟฟ้าชีวมวล ในอำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศมกานต์ ทองเกลี้ยง ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • อารยา อินต๊ะ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา
  • สมรัฐ นัยรัมย์ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การทำนาย, มลพิษทางอากาศ, AERMOD, ผลกระทบด้านสุขภาพ, โรงไฟฟ้าชีวมวล

บทคัดย่อ

ถึงแม้โรงไฟฟ้าชีวมวลจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถผลิตไฟฟ้าตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ก็ตามแต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือปัญหาจากมลพิษอากาศที่อาจเกิดขึ้นควบคู่ไปด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนายความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยใช้แบบจำลองคุณภาพอากาศ AERMOD และผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนรอบโรงไฟฟ้าชีวมวล ตำบลจระเข้หิน และตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ที่อยู่ในรัศมี 10 กิโลเมตร จากโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงกันยายน 2563 ผลการศึกษา พบว่า การแพร่กระจายของมลพิษทางอากาศจากโรงไฟฟ้าชีวมวลบริเวณตำแหน่งผู้รับมลพิษ จำนวน 4 จุด คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ซับก้านเหลือง รพ.สต.จระเข้หิน สำนักงานเทศบาลตำบลครบุรึใต้ และโรงเรียนบ้านคลองยาง (มูลบนอุปถัมภ์) ค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทั้ง 3 ชนิด คือ ความเข้มข้นของฝุ่นละอองรวม (TSP) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2 ) และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2 ) มีคำต่ำกว่าค่ามาตรฐานมลพิษทางอากาศในบรรยากาศ ทั้ง 4 จุด สำหรับผลกระทบด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีอาการเหนื่อยง่ายมากที่สุด ร้อยละ 13.5 รองลงมาคือมีอาการมองภาพไม่ชัด ร้อยละ12.6 และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสารมลพิษทั้ง 3 ชนิด และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5 ) กับอาการแสดงของโรค ด้วยสถิติ Binary logistic regression พบว่า มีเพียงฝุ่นละออง (PM 2.5) ที่มีความสัมพันธ์กับอาการคัดจมูก มีน้ำมูก แสบจมูก แสนคอ ไอแห้งๆ ไอมีเสมหะ หายใจลำบาก ปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย แสบหรือคันตา เช่น ถ้าฝุ่นละออง PM 2.5, เพิ่มขึ้น 1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะมีโอกาสเกิดอาการคัดจมูกเพิ่มขึ้น 1.01 เท่า ข้อเสนอแนะ (1) ควรมีการพัฒนาศูนย์คาดการณ์ความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศโดยใช้ข้อมูลจากแบบจำลอง AERMOD เพื่อเฝ้าระวังและเตือนภัยผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ และ (2) ควรศึกษาและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพและข้อมูลสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังสุขภาพเชิงรุก และนำมาศึกษาและพัฒนาระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ จากมลพิษสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้สำหรับเตือนภัยในพื้นที่ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้