การพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วย ประดับประคองในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • สุเพ็ญพร อักษรวงศ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ประดับประคอง, ระบบยาผู้ป่วยประดับประคอง, การเข้าถึง opioid

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการบริบาลผู้ป่วยประคับประคองในโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเช้าถึงยาระงับปวดกลุ่ม opioids อย่างมีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดของระบบบริการสุขภาพ (service plan) สาขาการดูแลผู้ป่วยแบบประดับประคองซึ่งกำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และศึกษาความรู้ความเข้าใจ ปัญหาด้านการใช้ยา การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับการป้องกัน แก้ไขอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับทีมดูแลผู้ป่วย สร้างเครื่องมือพัฒนาระบบ และทดลองทำตามระบบพี่วางไว้ โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นการศึกษาระบบในการนำยากลุ่ม opioids ชนิดฉีดให้ผู้ป่วยไปใช้ที่บ้าน พบว่าปี พ.ศ.2561-2563 ผู้ป่วยเข้าถึงยากลุ่ม opioid ได้มากขึ้นจากร้อยละ 5.84 เป็นร้อยละ 20.25 และ 42.60 ตามลำดับ และผู้ป่วยทุกรายสามารถกลับไปเสียชีวิตที่บ้านได้ตามความประสงค์ของผู้ป่วยโดยได้รับยาบรรเทาปวดกลุ่ม opioids ชนิดฉีด ช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 เป็นการศึกษาการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกผู้ป่วยนอกประคับประคองโดยเภสัชกร เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ผู้ป่วย 85 ราย เพศชาย 40 ราย (ร้อยละ 47.05) เพศหญิง 45 ราย (ร้อยละ 52.95) ทบทวนประวัติการใช้ยา แนะนำการใช้ยาติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย 345 ครั้ง พบปัญหาการใช้ยามากที่สุดคือ อาการไม่พึงประสงค์จากยาร้อยละ 45.41จากปัญหาการใช้ยาทั้งหมด 262 ครั้ง ซึ่งพบอาการท้องผูกมากที่สุด (ร้อยละ 89.07) สาเหตุของความไม่ร่วมมือในการใช้ยามากที่สุดคือกังวลเรื่องอาการข้างเคียงเมื่อรู้ว่าเป็นยากลุ่ม opioids (ร้อยละ 29.41) ปัญหาจากการใช้ยาที่พบมากที่สุดคือการไม่บริหารยาแก้ปวดในลักษณะต่อเนื่อง (around the clock) ร้อยละ 27.9 และสามารถติดตามยาที่ผู้ป่วยโดยการสร้างระบบในการติดตามยาคืน รวมมูลค่า 62,747.70 บาท

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

วิธีการอ้างอิง