การประเมินสถานการณ์นโยบาย ด้านอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทยด้วย World Breastfeeding Trends Initiative

ผู้แต่ง

  • นิศาชล เศรษฐไกรกุล สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • นงลภัส ศศิวัจน์ไพสิฐ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • กิติพร ทัพศาสตร์ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ
  • ยุพยง แห่งเชาวนิช มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย

คำสำคัญ:

ประเมิน, นโยบาย, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, อาหารทารกและเด็กเล็ก, เครื่องมือ WBTi

บทคัดย่อ

World Breastfeeding Trends Initiative (WBTi) เป็นเครื่องมือสากลที่ใช้สำหรับติดตามและประเมินสถานการณ์ความก้าวหน้าของแต่ละประเทศในการปฏิบัติตาม Global Strategy for Infant and Young Child Feeding ขององค์การอนามัยโลก เมื่อ พ.ศ. 2553 มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และกรมอนามัยได้ทำการประเมินสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของไทยด้วยเครื่องมือ WBTi ครั้งแรก ซึ่งผลการประเมินของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลางแต่เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการขับเคลื่อน และผลักดันนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อ ช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ในประเทศไทยโดยใช้เครื่องมือ WBTi รวบรวมข้อมูลจากการจัดประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการหาฉันทามติ โดยจะมีเกณฑ์การให้คะแนนและสีในแต่ละตัวชี้วัด และวิเคราะห์เนื้อหา ช่องว่าง และข้อเสนอแนะในแต่ละตัวชี้วัด ผลการศึกษาพบว่า การประเมินใน พ.ศ.2558 ประเทศไทยได้คะแนนทั้งหมด 84.5 คะแนน ถือว่าสามารถปฏิบัติตาม Global Strategy for Infant and Young Child Feeding อยู่ในระดับปานกลาง แต่มีความ ก้าวหน้าไปในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการประเมินใน พ.ศ. 2553 ซึ่งได้ 75.5 คะแนน ช่องว่างที่สำคัญประกอบด้วย นโยบายและมาตรการด้านอาหารทารกและเด็กเล็กระดับประเทศยังไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมรอบด้านนโยบายและมาตรการด้านอาหารทารกและเด็กเล็กที่มีอยู่ขาดการบังคับใช้ และการขาดองค์ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการให้อาหารทารกและเด็กเล็ก จากช่องว่างดังกล่าวสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ที่มีความสำคัญเร่งด่วน ได้แก่ จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านอาหารทารกและเด็กเล็ก และโภชนาการมารดาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การวางแผนการสื่อสารสาธารณะ และการให้ข้อมูลแก่แม่และครอบครัวอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสาธารณสุข

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-01

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้