บทบาททีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วและการควบคุมโรคไข้เลือดออกขั้นต้น: กรณีศึกษาเขตสุขภาพที่ 2

ผู้แต่ง

  • อุษารัตน์ ติดเทียน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วลัยพร พัชรนฤมล สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • วรวิทย์ ติดเทียน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • วริศา พานิชเกรียงไกร สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
  • วันชัย อาจเขียน สำนักงานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เอกชัย แดงสอาด กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ทวีศักดิ์ ทองบู่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว, การประเมินทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว, การควบคุมโรคไข้เลือดออก, เขตสุขภาพที่ 2

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับผลการประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (surveillance rapid response team - SRRT) และผลการควบคุมโรคไข้เลือดออกขั้นต้น และ วิเคราะห์บทบาทการดำเนินงานของ SRRT ระดับอำเภอในการควบคุมโรคไข้เลือดออกขั้นต้นให้สำเร็จ ใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ตำบลทุกแห่งจำนวน 426 ตำบล ใน 47 อำเภอในพื้นที่รับผิดชอบของเขตสุขภาพที่ 2 โดยหาความสัมพันธ์ของระดับผลการประเมินมาตรฐาน SRRT ซึ่งทำการประเมินโดยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 กรมควบคุมโรค และผลการควบคุมโรคไข้เลือดออกขั้นต้น หลังจากนั้นดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการคัดเลือกอำเภอแบบเฉพาะเจาะจง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มกลุ่มเป้าหมายเป็นแกนหลักและสมาชิกทีม SRRT ผลการศึกษาพบว่า ในปี 2556 SRRT ระดับอำเภอส่วนใหญ่ (44แห่งจากทั้งหมด 47 แห่ง) มีผลการประเมินผ่านระดับมาตรฐานหรือผ่านระดับดี แต่อย่างไรก็ตาม ผลการควบคุมโรคไข้เลือดออกขั้นต้นได้สำเร็จมีสัดส่วนน้อยมาก เพียง 7 แห่งจากที่ผ่านมาตรฐานทั้งหมด 44 แห่ง ถึงแม้ว่าผลการประเมินมาตรฐาน SRRT ไม่สามารถยืนยันความสำเร็จของการควบคุมโรคไข้เลือดออกขั้นต้นได้ แต่ก็ยังมีความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพ SRRT ทั้งการพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านวิชาการของ SRRT ทั้งทีมให้สามารถ
'รู้เร็วรู้ไว ลงไปสอบสวนทันใด" และการพัฒนาทักษะของ SRRT ด้านการประสานงานที่ดีกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำงานร่วมกันในการ "ลดโรค ลดภัย ประชาชนปลอดภัย" จึงจะบรรลุเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการให้การทำงานของ SRRT มีประสิทธิภาพ และโรคระบาดสามารถถูกควบคุมได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-01

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

<< < 1 2