ประสิทธิผลการรับรู้ภาวะคุกคามต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารตะกั่วของ ผู้ประกอบอาชีพมาดอวน จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การรับรู้ภาวะคุกคาม, สารตะกั่ว, อาชีพมาดอวนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการรับรู้ภาวะคุกคามต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารตะกั่วของผู้ประกอบอาชีพมาดอวน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ประกอบอาชีพมาดอวน จำนวน 30 คน ถูกคัดเลือกด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ภาวะคุกคาม และถูกประเมินการรับรู้ภาวะคุกคามและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากสารตะกั่วก่อนและหลังการทดลอง เก็บขอมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระยะเวลาการดำเนินวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงมกราคม พ.ศ. 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงวิเคราะห์ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบอาชีพมาดอวน มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ภาวะคุกคามในภาพรวม (การรับรู้โอกาสเสี่ยงและการรับรู้ความรุนแรง) หลังการทดลอง (Mean=83.93, SD=7.78) สูงกว่าก่อนการทดลอง (Mean=71.80, SD=7.67) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างพบว่าผู้ประกอบอาชีพมาดอวนมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ภาวะคุกคามในภาพรวมก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนด้านพฤติกรรมการป้องกันตนเอง พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันตนเองหลังการทดลอง (Mean=29.93, SD=2.33) สูงกว่าก่อนการทดลอง (Mean=24.77, SD=3.82)เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างพบว่าผู้ประกอบอาชีพมาดอวนมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันตนเองก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรดำเนินการเฝ้าระวังติดตามอย่างสม่ำเสมอ และนำกิจกรรมการสร้างการรับรู้ภาวะคุกคามไปเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากอันตรายสารตะกั่วแก่กลุ่มผู้ประกอบอาชีพมาดอวนในพื้นที่อื่นต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.