การประเมินความสำเร็จของมาตรการความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อคุ้มครองสุขภาพ
คำสำคัญ:
อาหารปลอดภัย, ห่วงโซ่อาหาร, ประเทศไทยบทคัดย่อ
ในปี 2549 กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินมาตรการความปลอดภัยด้านอาหารครอบคลุมทุกจังหวัด โดยใช้กลยุทธ์ที่สำคัญ คือ จัดทำและขับเคลื่อนแผนบูรณาการอาหารปลอดภัยเพื่อคุ้มครองสุขภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลความสำเร็จของมาตรการความปลอดภัยด้านอาหารโดยวัดผลจากร้อยละของแหล่งผลิต/สถานที่ผลิตและกระจายอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร่วมกับการลดลงของความซุกของสารปนเปื้อนทางเคมีและ ชีวภาพ รวมทั้งจำนวนผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ ผลการศึกษาพบว่า แหล่งผลิต สถานที่ผลิตและกระจายอาหารทุกประเภท ใน 76 จังหวัด มีมาตรฐานร้อยละ 83.15 และร้อยละความชุกของสารปนเปื้อนทางเคมีและจำนวผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ไม่มีมาตรการความปลอดภัยด้านอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีผู้รับผิดชอบในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ เพื่อดำเนินมาตรการอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน และเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาระบบควบคุมอาหารเพื่อจัดการความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศตามแนวทางของคณะกรรมาธิการการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (CODEX) ให้ประเทศไทยเป็นครัวโลก
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.