ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่นที่มาคลอด ที่โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ปิยวิทย์ เนกขพัฒน์ โรงพยาบาลห้วยยอด อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ของสตรีวัยรุ่น, ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ descriptive study เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และเปรียบเทียบภาวะแทรกช้อนของการตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและสตรีตั้งครรภ์กลุ่มอายุปกติ (อายุ 20-34 ปี) ที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลห้วยยอดอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556 โดยศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ลักษณะ ทั่วไปทางสูติกรรม ประกอบด้วย ประวัติจำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ จำนวนครั้งของการคลอดบุตร จำนวนครั้งของการแท้ง ประวัติการฝากครรภ์ อายุครรภ์เมื่อคลอด และน้ำหนักของทารกแรกคลอด ภาวะแทรกช้อนทางสูติกรรมประกอบด้วย ภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างการตั้งครรภ์ ภาวะเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจาง ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ภาวะน้ำเดินก่อนการเจ็บครรภ์ รกค้าง ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะทารกแรกเกิด น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรม SPSS version 11.0 คำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์และความเสี่ยงสัมพัทธ์ระหว่างอายุของมารดากับภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และผลของการคลอด โดยใช้สถิติ ร้อยละ Chi-square เปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมโดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า P-value น้อยกว่า 0.05 พบว่ามีสตรีวัยรุ่นมาคลอด จำนวน 119คน คิดเป็นร้อยละ 21.1 สตรีวัยรุ่นมีโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางมากกว่าสตรีอายุ 20-34 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสตรีวัยรุ่นมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อ HIV ภาวะเจ็บครรภ์คลอด ก่อนกำหนด ภาวะทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม สูงกว่าสตรีตั้งครรภ์ที่อายุระหว่าง 20-34 ปี ดังนั้นควรมีให้ความสำคัญตั้งแต่การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การจัดคลินิกให้บริการฝากครรภ์วัยรุ่น ให้มีการฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์ เน้นเรื่องการกินยาบำรุงให้ได้รับธาตุเหล็กเสริมอย่างเพียงพอเพื่อลดภาวะโลหิตจาง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักตัวน้อย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-03

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ