บทบาทนักจัดการสุขภาพชุมชนที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงของอาสาสมัครสาธารณสุขตามการประเมินตนเองและโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • บุญชัย ธีระกาญจน์ สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุข, นักจัดการสุขภาพชุมชน, บทบาทที่คาดหวัง, บทบาทที่เป็นจริง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบทบาทนักจัดการสุขภาพชุมชนที่คาดหวังและบทบาท ที่เป็นจริงตามการประเมินตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุข และการประเมินของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จังหวัดพิจิตรและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจในการทำงาน กับบทบาทที่เป็นจริงตามการประเมินของอาสาสมัครสาธารณสุข เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครสาธารณสุขนักจัดการสุขภาพชุมชนจำนวน 383 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 107 คน ใช้เวลาการศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ paired t test, independent t test และ Chi-square test ผลการศึกษาพบว่า บทบาทนักจัดการสุขภาพชุมชนที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงของอาสาสมัครสาธารณสุขแตกต่างกันทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ทั้งจากการประเมินตนเอง และจากการประเมินของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเปรียบเทียบการประเมินตนเอง กับการประเมินของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พบว่า ในบทบาทที่คาดหวังด้านมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ด้านมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการด้านสุขภาพ และด้านเป็นแกนนำในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 และในบทบาทที่เป็นจริง ด้านมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ด้านเป็นแกนนำให้เกิดมาตรการทาง สังคมด้านสุขภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ปัจจัย ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และแรงจูงใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับบทบาทที่เป็นจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้การพัฒนานักจัดการสุขภาพชุมชน ต้องเน้นกระบวนการที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขให้ได้ตามที่คาดหวังจริง เพื่อเป็นต้นแบบของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-03

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ