ปัจจัยทำนายการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • จงจิตร อินทรอุทก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • วรากร เกรียงไกรศักดา โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

กองทุนหลักประกันสุขภาพ, บุคลากรด้านสาธารณสุข, ฉะเชิงเทรา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรที่รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลทั้ง 108แห่งในจังหวัด และบุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกองทุนหลักประกันสุขภาพจากสถานบริการสาธารณสุข 108 แห่ง รวมตัวอย่างทั้งสิ้น 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ทำขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น ด้านความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เท่ากับ 0.791 ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เท่ากับ 0.862 ด้านแรงสนับสนุนทางสังคมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เท่ากับ 0.914 และด้านปัจจัยการเมืองท้องถิ่นที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เท่ากับ 0.942 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุผลการวิจัยพบว่า บุคลากรที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขมีการดำเนินงานกองทุนภาพรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.72 บุคลากรที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 77.76 ด้านทัศนคติเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.02 ด้านแรงสนับสนุนทางสังคมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ร้อยละ 53.70 และด้านปัจจัยการเมืองท้องถิ่นภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 66.21 ผลการ วิเคราะห์ปัจจัยการทำนายการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของบุคลากรสาธารณสุข ที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า แรงสนับสนุนทางสังคม ปัจจัยการเมืองท้องถิ่น ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และทัศนคติเกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สามารถทำนายการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับ ท้องถิ่นหรือพื้นที่ของบุคลากรที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุข ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 42.60

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-03

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ