ความชุกของ Rh Antigen และ Phenotypes ของผู้ตรวจสุขภาพ ชมรมผู้บริจาคเลือด Rh ลบในโรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รำพิณ โภคา งานตรวจสุขภาพทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • พิทักษ์ อินธิแสง งานตรวจสุขภาพทางห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

rhesus blood group, phenotype, antigenicity

บทคัดย่อ

หมู่เลือดระบบ Rh มีความสำคัญทางคลินิก ทำให้เกิดได้ทั้ง hemolytic transfusion reaction (HTR) และ hemolyic disease of the newborn (HDN) ซึ่งในบางกรณีอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นนอกจากจะต้องเลือกเลือดหมู่ ABO ให้ตรงกันแล้วยังต้องเลือกเลือด Rh ชนิดเดียวกันด้วย นั่นคือเลือกเลือด Rh phenotype ที่ตรงกัน สำหรับในคนไทยผู้ที่มีเลือดชนิด Rh ลบ พบได้ประมาณ 1-3 คน ต่อ ประชากร 1,000 คน จึงนับได้ว่าเลือด Rh ลบนั้นหายากมากหากมี anti-D หรือ anti-E ถ้าต้องการให้เลือดด่วน โอกาสที่จะหาเลือดได้เหมาะสมให้ได้ทันทีนั้นยากมากยิ่งขึ้น ดังนั้นทีมผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาความชุกของแอนติเจนหลัก 5 ชนิดของหมู่เลือดระบบ Rh ได้แก่ D, C, E, c และ e ในกลุ่มของชมรมผู้บริจาคเลือด Rh ลบ ที่ส่งตรวจสุขภาพทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลขอนแก่น ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่กันยายน 2556 - กุมภาพันธ์ 2557 ตรวจหาแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงของหมู่เลือดระบบ ABO และ Rh ด้วยวิธีหลอดทดลอง (standard tube test) โดยใช้ anti-D, anti-E และ anti-c ที่ผลิตโดย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และใช้ anti-C และ anti-e เป็น commercial antisera วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา พบว่า แอนติเจนที่พบมากที่สุดได้แก่ แอนติเจน e จำนวน 31 ราย รองลงมาได้แก่แอนติเจน C และ C เท่ากันคือ จำนวน 23 ราย และแอนติเจน E จำนวน 1 รายตามลำดับ ส่วนการศึกษา phenotypes พบ aCcce (r'r) มากที่สุดจำนวน 15 ราย รองลงมาได้แก่ aCCee (r'r') 8 ราย dccee (r) 7 ราย และ decEe (r") 1 รายตามลำดับ การตรวจ Rh phenotype ในกลุ่มผู้บริจาคเลือด Rh ลบ ที่มาตรวจสุขภาพในโรงพยาบาลขอนแก่นสามารถนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนการเตรียมเลือดที่ปลอดภัยโดยการจับคู่ผู้ที่มีหมู่เลือดระบบ ABO และ Rh phenotypes ที่ตรงกันไว้ล่วงหน้าหากต้องการเลือดในภาวะเร่งด่วน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-11-03

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ