รูปแบบการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย
คำสำคัญ:
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ, ผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ, การดูแลผู้ป่วยบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและลดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ โดยใช้รูปแบบระบบเฝ้าระวังแบบจำเพาะเจาะจง (targeted surveillance) จากแบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อของโรงพยาบาล และแบบที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น เพื่อหาแนวทางป้องกันและลดการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะของตึกพิเศษสงฆ์ โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2553แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาวิธีการปฏิบัติการ retained foley cath และการ flush โดยใช้แบบเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล ระยะที่ 2 ศึกษาวิธีการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะและจัดทำแนวทางปฏิบัติการ ดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ และระยะที่ 3 ศึกษาการปฏิบัติตามแบบตรวจสอบและเสริมพลังผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในปี พ.ศ.2551 จำนวน 25.8 ครั้ง/1,000 cath-days โดยพบว่า การสวนปัสสาวะและการ lush ยังไม่ถูกเทคนิค เจ้าหน้าที่ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดูแลสายสวนปัสสาวะไม่เพียงพอ ระยะต่อมาพยาบาลสวนปัสสาวะและ flush ถูกต้องตามเทคนิคทุกรายตามแนวทางปฏิบัติ 20 ข้อ ทำให้ไม่พบอัตราการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ในการดูแลเมื่อคาสายสวนปัสสาวะ บุคลากรและญาติไม่เข้าใจแนวทางการปฏิบัติบางข้อ ไม่สามารถปฏิบัติได้ จึงได้พัฒนาแนวทางปฏิบัติ และจัดทำแบบตรวจสอบการปฏิบัติการ ดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะขึ้นมาใหม่ เมื่อมีการพัฒนาทีมหน่วยพยาบาล การให้คำแนะนำ ในการดูแลแก่ญาติผู้ป่วย 12 ข้อ ช่วยให้ไม่พบการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2553 โรงพยาบาลโกสุมพิสัยได้นำแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกัน มีการเก็บรวบรวมตัวชี้วัดอัตราการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะทุกเดือน มีการรายงานผลและทบทวนอุบัติการณ์เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้นต่อคณะกรรมการควบคุมการติดเชื้อและคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบา
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.