การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โดยใช้แนวทาง FAST HUG
คำสำคัญ:
การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์, พัฒนารูปแบบ FAST HUG, การวิจัยและพัฒนา, ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโดยใช้แนวทาง FAST HUG และประเมินผลลัพธ์จากการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวิกฤตที่พัฒนาขึ้นโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ในระยะก่อนและหลังการใช้รูปแบบการดูแล การศึกษานี้ใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาของซูคัฟประกอบด้วย การใช้กระบวนการวิจัยและการ พัฒนาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 24 ราย ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมกลุ่มก่อนการใช้รูปแบบการดูแล 60 รายกลุ่มหลังการใช้รูปแบบการดูแล 60 ราย และญาติผู้ดูแลหลัก 56 ราย ช่วงเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่าการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเพิ่มคุณภาพการดูแลได้ทั้งด้านกระบวนการ ด้านผู้ป่วยและด้านองค์กร ซึ่งด้านกระบวนการพบว่า พยาบาลสามารถให้การดูแลตามแนวการปฏิบัติเพิ่มขึ้นในทุกด้าน และมีการวางแผนการดูแลครอบคลุม 7 ประเด็นของ FAST HUG ตั้งแต่แรกรับ ร้อยละ 63.3-93.7 ด้านผู้ป่วยพบว่า ผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยางภายใน 72 ชั่วโมงเพิ่มขึ้น (χ2=16.41; p<0.001) ได้รับการประเมินความปวด อย่างมีประสิทธิ์-ภาพเพิ่มขึ้น (χ2= 6.31; p=0.012) พบระดับความปวดลดลง (Z=-4.579; p<0.01) ได้รับการจัดให้นอน ศีรษะสูงอย่างน้อย 30 องศาเพิ่มขึ้น (χ2=45.51; p<0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และด้านองค์กรพบว่ากลุ่มตัวอย่างพยาบาลส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นว่ามีความเหมาะสม ง่ายและตัวอย่างทุกรายเห็นว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยนี้สามารถแก้ไขปัญหา หรือทำให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้โดยสรุป รูปแบบการดูแลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโดยใช้แนวทาง FAST HUG ที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมในการใช้ดูแลผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม การมีส่วนร่วมของพยาบาลที่เกี่ยวข้อง การเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนได้ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.