ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ปวงนิยม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี
  • วันเพ็ญ แก้วปาน ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ซ้ำ, แม่วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมแก่แม่วัยรุ่น ทั้งด้านสุขภาพ ครอบครัวและประเทศชาติโดยรวม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่นในจังหวัดเพชรบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นแบบ case-control กลุ่มตัวอย่างเป็นแม่วัยรุ่นซึ่งมาฝากครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีกลุ่มที่ตั้งครรภ์ซ้ำในระยะเวลา 24 เดือน จำนวน 122 คน และกลุ่มที่ตั้งครรภ์ในระยะเวลานานกว่า 24 เดือน จำนวน 202 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกแม่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ซ้ำ จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าความถี่ ร้อยละไค-แสควร์, Fisher's exact test และสถิติ binary logis - tic regression ผลการวิจัย พบว่า ประวัติการตั้งครรภ์ของแม่วัยรุ่น ทัศนคติต่อการตั้งครรภ์และการมีบุตร และประวัติการคุมกำเนิดมีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น โดยแม่วัยรุ่นที่มีประวัติการตั้งครรภ์ปกติจะมีโอกาส ตังครรภ์ซำเท่ากับ 56.1 เท่าของผู้มีประวัติการตั้งครรภ์ผิดปกติหรือมีภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์และขณะคลอดแม่ที่มีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์และการมีบุตรดีจะมีโอกาสการตั้งครรภ์ซ้ำเป็น 1.1 เท่า ของแม่ที่มีทัศนคติต่อการตั้งครรภ์และการมีบุตรไม่ดี และแม่วัยรุ่นที่มีประวัติไม่ได้คุมกำเนิดมีโอกาสตั้งครรภ์ช้ำเป็น 3.8 เท่าของแม่ที่มีประวัติการ คุมกำเนิดสม่ำเสมอ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า สาเหตุการตั้งครรภ์ซ้ำส่วนใหญ่เกิดจากการป้องกันการตั้งครรภ์ภายหลังคลอดล้มเหลว เนื่องจากแม่วัยรุ่นยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิด มีภาวะแทรกซ้อนเมื่อใช้วิธีการคุมกำเนิด ส่งผลให้ไม่ใช้วิธีการคุมกำเนิดและนำไปสู่การตั้งครรภ์ซ้ำในที่สุด ผลการวิจัย มีข้อเสนอแนะในการลดการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่น โดยผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับของจังหวัด ควรเร่งรัดดำเนินนโยบายบูรณาการแผนงานและการปฏิบัติ และประสานงานหน่วยงานรัฐ ครอบครัว และสถานศึกษาในชุมชนอย่างจริงจัง บุคลากรสาธารณสุขในสถานบริการ ควรให้ความรู้ในระยะฝากครรภ์เกี่ยวกับการดูแลตนเองและอาการ ผิดปกติขณะตั้งครรภ์และระยะก่อนคลอด รวมทั้งฝากครรภ์ตามนัด ควรให้ความรู้และแนะนำวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมแก่แม่ภายหลังคลอดแต่ละราย และแนะนำการวางแผนครอบครัวกึ่งถาวรในรายที่มีบุตรพียงพอแล้ว รวมทั้ง พัฒนาโปรแกรมการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำในแม่วัยรุ่นที่มีความเสี่ยงสูง โดยการคัดกรองจากประวัติการตั้งครรภ์การรับบริการวางแผนครอบครัวและความต้องการมีบุตรภายหลังคลอด เพื่อการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์ช้ำในแม่วัยรุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-02-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้