การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลัก จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ มณีประเสริฐ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล, ถนนสายหลัก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลบนถนน สายหลักจังหวัดสมุทรสาครและเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลักจังหวัดสมุทรสาคร กระบวนการวิจัยมี 5 ขั้นตอนคือ (1) เตรียมการวิจัย (2) วิเคราะห์สภาพ ปัญหาและความต้องการ (3) วางแผนพัฒนา (4) น้ำแผนไปสู่การปฏิบัติ และ (5) ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนาโดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครอง-ส่วนท้องถิ่น ผู้แทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้แทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 40 ตำบล ตำบลละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน พื้นที่วิจัยคือบนถนนสายหลักในจังหวัดสมุทรสาคร การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การประชุมวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Appre-ciation Influence Control: ATC) การระดมสมอง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนาและ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลักจังหวัดสมุทรสาครประกอบด้วย (1) ต้องสร้างทีมงานแบบมีส่วนร่วม (2) ร่วมกันศึกษาความ ต้องการความจำเป็น (3) ร่วมกันร่างโครงการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลัก ซึ่งกิจกรรมการ จัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลักประกอบด้วย (3.1) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและ ร่วมกันกำหนดนโยบายการดำเนินงานจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลัก (3.2) การบูรณาการการ จัดการขยะและและสิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลักกับกิจกรรมรณรงค์ Big Cleaning Day ของจังหวัด โดยมีเป้าหมาย พื้นที่รับผิดชอบที่ชัดเจน และ (3.3) การเสริมความรู้เกี่ยวกับการจัดการและคัดแยกขยะในหมู่บ้าน /ชุมชน โรงเรียนตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น (4) การทดลองใช้และการปรับปรุงโครงการโดยใช้รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลักด้วยกระบวนการ PAOR (Plan-Act-Observe-Reflect) และ (5) การประเมินผลหลังดำเนินงานตามรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลักพบว่าหลังดำเนินงานทำให้จุดที่ตั้งถังขยะและบริเวณนอกจุดที่ตั้งถังขยะ (บริเวณอื่นนอกเหนือจากจุดที่ตั้งถังขยะที่มองเห็นได้เมื่อแล่นรถผ่านเช่น ไหล่ทาง ผิวจราจร เกาะกลางถนน) มีความสะอาดเรียบร้อย ไม่มีขยะตกค้างในพื้นที่ ระบบการจัดเก็บรวบรวมขยะปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น บุคลากรในท้องถิ่นมีความตระหนักและมีความพึงพอใจต่อกิจกรรม โดยทุกกระบวนการเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลบนถนนสายหลักในจังหวัดสมุทรสาครมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-02-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ