ผลการพัฒนากายภาพบําบัดเชิงรุก ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • ยศศักดิ์ หาญชาญเลิศ งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, เยี่ยมบ้าน, ทีมนักกายภาพบำบัด

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลโกสุมพิสัยมีการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลแต่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำเป็น ต้องได้รับการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่เหมาะสม ภายใต้จำนวนครั้งและความถี่ที่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วที่สุดแต่การเยี่ยมในระบบเดิมด้วย ทีมสหวิชาชีพเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ การศึกษานี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกายภาพบำบัดเชิงรุกและโปรแกรมการฟื้นฟูเฉพาะรายในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยวิธีการศึกษาคืองานกายภาพบำบัดได้พัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านโดยทีมนักกายภาพบำบัดเคลื่อนที่เร็ว เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่หลังจากผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และวางโปรแกรมการฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นรายบุคคลภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังผู้ป่วยเริ่มเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งเป้าหมายสูงสุดในการฟื้นฟูร่วมกับผู้ป่วยและญาติโดยโปรแกรม รายบุคคลในแต่ละครั้งประกอบด้วยการออกกำลังกายแบบผู้ป่วยทำเองและแบบผู้ดูแลทำให้การฝึกการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันและสอนโปรแกรมการฟื้นพูให้แต่ผู้ป่วยและญาติทำเอง วางแผนความถี่และจำนวนครั้งในการเยี่ยม ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยแบบประเมิน Barthel index ในขณะที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาลและเมื่อครบ 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยมบ้าน 56 ราย ผู้ป่วย 46 ราย (ร้อยละ 82.14) มีค่า คะแนน Barthel index เพิ่มมากขึ้นภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการเยี่ยมบ้านในระบบเดิม ซึ่งดีขึ้นร้อยละ 71.42 จากผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การเยี่ยมบ้านโดยทีมนักกายภาพบำบัดด้วยโปรแกรมการฟื้นฟูเฉพาะราย เกิดความคล่องตัว มีจำนวนครั้งและความถี่ที่เพียงพอ ทำให้การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทำได้อย่างครอบคลุม ทันเวลา ช่วยให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ดีและลดภาระผู้ดูแลได้เร็วขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2018-02-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ